Page 137 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 137
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐใช้เรื่องความสงบสุขของผู้คนในสังคมมาเป็นข้ออ้างในการสร้าง
ความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงของรัฐนั้น เดวิด การ์แลนด์ (David Garland) กล่าวว่า
การใช้ความรุนแรง หรือการลงโทษของรัฐที่เกิดขึ้นและกระทำาต่อผู้คนในสังคมนั้น ไม่ได้มีเหตุผล
เพียงแค่ว่ารัฐจำาเป็นต้องกระทำาเพื่อความมั่นคงของสังคมเท่านั้น จึงควรที่จะพิจารณาว่าใคร
เป็นผู้ที่มีอำานาจในการลงโทษ แหล่งที่มาแห่งอำานาจ และการลงโทษนั้นกระทำาในนามของใคร
เพราะว่าการลงโทษ คือ ความพยายามที่จะดำารงรักษาไว้ซึ่งอำานาจนั้นนั่นเอง
ส่วน เดฟ กรอสแมน (Dave Grossman) กล่าวว่า การที่ผู้คนในสังคมยอมรับการใช้
อำานาจโดยการใช้ความรุนแรงของรัฐได้ ก็เนื่องมาจากมีกระบวนการที่ทำาให้ผู้คนยอมรับการกระทำา
อันโหดร้ายในนามของรัฐ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำาเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการสร้างรากฐาน
การมีอำานาจโดยชอบธรรมนั้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของอำานาจโดยชอบธรรมตามกฎหมาย ตามแนวคิด
ทางศาสนา หรือตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา ในเรื่องการมองและการให้คุณค่า
ของชีวิตมนุษย์และ/หรือความกดดันทางเศรษฐกิจร่วมกับการรวมตัวกันของกลุ่มคนบางกลุ่ม
แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความชอบธรรมจากฐานใดก็ตาม นโยบายหรือการกระทำาที่โหดร้ายก็ได้
เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการทำาลายล้างตัวเองไว้ด้วยเสมอ
ดังนั้น เมื่อรัฐใช้ความรุนแรง “จัดการ” กับสังคม โดยการกล่าวอ้างว่ามีความจำาเป็น
ต้องกระทำาเพื่อรักษาความสงบสุขให้แก่ผู้คนส่วนใหญ่ภายในรัฐ ผู้คนส่วนใหญ่ได้ยอมรับให้รัฐ
ใช้ความรุนแรงเข้า “จัดการ” กับผู้คนส่วนน้อย โดยอาจเกิดคำาถามที่ตามมา คือ เหตุใดผู้คน
ส่วนใหญ่ในรัฐจึงยอมรับการใช้ความรุนแรงดังกล่าว และกระบวนการที่ทำาให้ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับ
กระทำาที่รุนแรงของรัฐนั้นทำางานอย่างไร
นอกจากนี้ กระบวนการสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำานาจและความรุนแรงของรัฐได้
แนวคิดเรื่องการก่อกำาเนิดรัฐ ที่มาแห่งอำานาจและความชอบธรรมของรัฐซึ่งรัฐนำามาใช้เป็นข้ออ้าง
ในการสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำานาจและใช้ความรุนแรงของรัฐต่อประชาชนผู้อยู่อาศัย
ภายในรัฐ โดยการกล่าวอ้างว่าเป็นการกระทำาเพื่อให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อย กล่าวคือ เมื่อรัฐ
สามารถอ้างถึงอำานาจอันชอบธรรมของตน ซึ่งเป็นอำานาจเพียงหนึ่งเดียวภายในรัฐที่ผู้คนต่างให้
ความเห็นชอบและยอมรับในอำานาจนั้น รัฐจึงสามารถใช้อำานาจและความรุนแรงในการ “จัดการ”
กับประชาชนภายในรัฐได้ ซึ่งจากเหตุผลข้ออ้างที่ว่ารัฐใช้อำานาจและความรุนแรง “จัดการ” กับ
ประชาชนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ก็นำาไปสู่การ “ฆ่า” ที่รัฐ “จำาเป็น” ต้องกระทำา (ก็เพื่อประชาชน)
โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับในการ “ฆ่า” หรือการใช้ความรุนแรงของรัฐได้ นั้น เนื่องมาจาก
ความรุนแรงนั้นได้กระทำาในฐานะที่เป็นความถูกต้อง และชอบธรรมภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้เกิดความรุนแรง คือ ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องศาสนาและ/หรือ
อุดมการณ์ทางการเมือง โดยปรกติความเชื่อและความศรัทธาไม่เป็นอันตรายกับผู้คน
ในสังคม แต่เมื่อความเชื่อและความศรัทธานั้นเริ่มที่จะแบ่งแยกผู้คนออกจากกัน นิยาม
ผู้คนด้วยคำาจำากัดความที่แตกต่าง เกิดการแบ่งกลุ่มระหว่างผู้ที่ถูกเลือกและผู้ที่ไม่ได้
124 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ