Page 129 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 129
๑. ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน (Retributive Theory)
การลงโทษของรัฐเพื่อเป็นการรักษาความเป็นธรรมในสังคมจะต้องประกอบด้วย
เงื่อนไข ๓ ประการ คือ
• ประการแรก จะต้องกระทำาเพื่อแก้ไขความเสียหายที่ผู้กระทำาผิดได้ก่อ
ให้เกิดขึ้น หรือทดแทนความรู้สึกของผู้เสียหายที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำาความผิด โดยการ
ลงโทษต้องเป็นการทดแทนความเสียหาย (vindication) หมายถึงการลงโทษของรัฐนั้น จะต้อง
กระทำาลงไปเพื่อเป็นการทดแทน หรือแก้แค้นให้แก่ผู้เสียหายจากการที่ผู้กระทำาผิดได้ทำาให้เกิด
ความเสียหายขึ้น และจะต้องเป็นการลงโทษที่ทำาให้ผู้เสียหายมีความรู้สึกพึงพอใจและเห็นว่า
การลงโทษดังกล่าวเป็นการกระทำาที่ยุติธรรม
ซึ่งทฤษฎีนี้เชื่อว่าการไม่ให้ความสำาคัญต่อความรู้สึกของผู้เสียหายที่ต้องการ
แก้แค้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำา เพราะจะทำาให้ผู้เสียหายหรือญาติพี่น้อง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหยื่อ
เกิดความรู้สึกเสื่อมศรัทธาที่มีต่อรัฐว่าไม่อาจเยียวยาความเสียหายให้กับเหยื่ออาชญากรรมได้
ซึ่งการลงโทษโดยคำานึงถึงความพอใจของผู้เสียหายเป็นหลักสำาคัญ จะทำาให้ผู้เสียหายและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ยอมรับว่าการลงโทษโดยรัฐเป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่สังคม และยอมรับว่าการแก้แค้น
ผู้กระทำาผิดไม่ใช่หน้าที่ของเหยื่อหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หากแต่เป็นหน้าที่ของรัฐ
• ประการที่สอง การลงโทษจะต้องกระทำาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม (fairness)
การลงโทษต้องเป็นการทดแทนความเสียหาย (fairness) ทฤษฎีนี้มองหน้าที่ของบุคคลในด้าน
การเมืองและกึ่งสัญญาประชาคมที่เรียกว่า การต่างตอบแทน (reciprocity) มีหลักว่าการจะให้
กฎหมายมีผลคุ้มครองประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม คนทุกคนจะต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย
การที่ผู้กระทำาผิดฝ่าฝืนกฎหมายอาญาแต่ละครั้งเท่ากับว่าผู้กระทำาผิดเอาเปรียบบุคคลอื่นที่เชื่อฟัง
กฎหมาย และข้อได้เปรียบนี้จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าเป็นการกระทำาอาญาที่รู้กันอย่างแพร่หลาย
ดังนั้น การลงโทษผู้กระทำาผิดจึงเป็นการที่ทำาให้ผู้กระทำาผิดและบุคคลที่เชื่อฟังกฎหมาย ตระหนักว่า
บุคคลที่ละเมิดกฎหมายจะต้องถูกดำาเนินคดี และผู้ที่ได้เปรียบจากการฝ่าฝืนกฎหมายจะต้องถูกลงโทษ
ด้วยเหตุนี้การลงโทษแก่ผู้กระทำาผิด จึงควรมีความรุนแรงเทียบเท่ากับความได้เปรียบที่ผู้กระทำา
ได้รับจากการฝ่าฝืนกฎหมายนั้น โดยถือว่าผู้กระทำาผิดได้จ่ายหนี้ อันเกิดจากการทำาผิดให้แก่คนที่
เชื่อฟังกฎหมายซึ่งเป็นสมาชิกในสังคมนั้น และเมื่อจ่ายแล้วผู้กระทำาผิดก็สามารถกลับคืนสู่สังคม
ในฐานะที่เป็นพลเมืองดี และมีฐานะเทียบเท่าบุคคลอื่นในสังคม อย่างไรก็ตาม การชดใช้
ความได้เปรียบของการกระทำาผิดมิใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้กระทำาผิดกับผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย
หากแต่เป็นเรื่องระหว่างรัฐกับผู้กระทำาผิด เพราะฉะนั้น ผู้กระทำาผิดยังคงต้องรับโทษจากการที่ตนได้
กระทำาผิด แม้ว่าผู้เสียหายจะยกโทษให้ผู้นั้นแล้ว
• ประการสุดท้าย การลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิด
การลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับความผิด (proportionality of punishment) ทฤษฎีนี้เห็นว่า
116 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ