Page 139 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 139
มีวัตถุประสงค์สำาคัญที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยกำาหนดให้
เมื่อประเทศสมาชิกได้มีการลงนามแล้ว จะต้องไม่มีการลงโทษประหารชีวิตในประเทศดังกล่าว
สำาหรับอาชญากรรมร้ายแรงทั่วไป (Ordinary Crime) ทุกประเภทคดี หากแต่สามารถใช้
โทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมร้ายแรงที่สุด (Most Serious Crime) ระหว่างสงครามตาม
คำาพิพากษาคดีอาญาร้ายแรงทางทหารที่กระทำาในระหว่างสงคราม โดยมีพฤติกรรมการกระทำาผิดที่
ละเมิดต่อความมั่นคงของประเทศและความสงบเรียบร้อยของสังคม การละเมิดกฎอัยการศึก
หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่ร้ายแรงทางทหารในขณะเกิดภาวะสงคราม การก่อการร้าย
และการกบฏ โดยการใช้โทษประหารชีวิตสามารถใช้ได้กับพฤติกรรมการกระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับ
การสูญเสียชีวิตที่เป็นการฆาตกรรมโดยเจตนาเป็นสำาคัญ ซึ่งแม้ปัจจุบันประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่ง
ในประเทศที่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิต หากแต่ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นการ
ประหารชีวิตด้วยการฉีดยา อันเป็นวิธีการประหารชีวิตที่มีมนุษยธรรมมากขึ้นเพื่อรองรับต่อ
กระแสสิทธิมนุษยชนเป็นสำาคัญ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกการใช้โทษ
ประหารชีวิต ดังนั้น ประเทศไทยอาจต้องมีการทบทวนถึงการใช้โทษประหารชีวิตในปัจจุบัน
เพราะการใช้โทษประหารชีวิตในการลงโทษผู้กระทำาผิดอาจไม่ใช่เป็นหนทางในการข่มขู่ยับยั้ง
อาชญากรรมได้อย่างแท้จริง นอกจากนั้น ยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยใช้วิธีการลงโทษ
ที่ไม่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งจากแนวคิดในเรื่องการลงโทษผู้กระทำาผิด
ที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิดมากขึ้น เพื่อให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟู
เพื่อกลับมาเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป
126 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ