Page 138 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 138

ถูกเลือก  เมื่อนั้นความเชื่อและความศรัทธาก็จะกลายมาเป็นอันตรายกับผู้คนในสังคม
                     ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมตามแนวคิดของโจฮัน  เกาล์ตุง  (Johan  Galtung)  จึงไม่ได้

                     มีเฉพาะความรุนแรงที่สามารถเห็นได้จากการมีผู้กระทำาและผู้ถูกกระทำาเท่านั้น  แต่ยังมี

                     ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระดับโครงสร้าง  และในระดับความเชื่อและศรัทธาที่สังเกตเห็นได้ยากกว่า
                     เพราะไม่มีตัวกระทำาและผู้ถูกกระทำาที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน (ธัญญรัตน์ ทิวถนอม, ๒๕๕๐)



                             สรุปจ�กก�รทบทวนวรรณกรรม

                             จากการทบทวนวรรณกรรมทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า  โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษ
                     ที่รุนแรงที่สุดซึ่งใช้สำาหรับลงโทษผู้กระทำาผิดในสังคมมาเป็นระยะเวลานาน  โดยรัฐมีการใช้
                     โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรม  รวมทั้งเป็นการก่อ

                     ให้เกิดความสงบสุขในสังคมเป็นสำาคัญ  โทษประหารชีวิตจึงมีประวัติที่ยาวนานควบคู่กับสังคมไทย

                     และต่างประเทศมาเป็นระยะเวลานานตราบเท่าปัจจุบัน  โดยการลงโทษประหารชีวิตในอดีตจะมี
                     ความโหดร้ายทารุณ  เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการลงโทษที่ต้องการแก้แค้นทดแทนผู้กระทำาผิด
                     ในสังคมที่เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความชั่วร้ายในตัวเอง และเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม หากแต่

                     ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เนื่องจากแนวคิดในเรื่องการแก้ไข

                     ฟื้นฟูแก่ผู้กระทำาผิดที่มีมากขึ้น  และกระแสของการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  อันส่งผลให้
                     ประเทศที่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิตในปัจจุบันจะต้องมีการใช้โทษประหารที่มีความนุ่มนวล
                     มากขึ้น และมีแนวโน้มที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต เนื่องจาก

                     การใช้โทษประหารชีวิตไม่อาจยับยั้งอาชญากรรมได้อย่างแท้จริง  รวมทั้งไม่ใช่เป็นมาตรการ

                     ที่เหมาะสมในการตัดโอกาสผู้กระทำาผิด  เพราะอาจสามารถใช้โทษในการจำาคุกตลอดชีวิต
                     หรือการจำาคุกที่มีระยะเวลาในการตัดโอกาสผู้กระทำาผิด  โดยสามารถทำาให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาส
                     ในการแก้ไขฟื้นฟูตนเองได้  นอกจากนี้  การใช้โทษประหารชีวิตเป็นการกระทำาที่ขัดต่อหลักศาสนา

                     และศีลธรรมโดยส่วนใหญ่  โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่มีข้อกำาหนดของศีลข้อที่  ๑  ไม่ให้ฆ่าสัตว์

                     แม้ศาสนาอิสลามจะอนุญาตให้มีการประหารชีวิตได้  หากแต่ต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบ
                     ที่ละเอียดและเหยื่อ  หรือญาติสามารถให้อภัยได้  อันแสดงให้เห็นถึงการใช้โทษประหารชีวิต
                     เป็นการขัดต่อหลักศาสนาและศีลธรรม นอกจากนี้ หากมีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของกระบวนการ

                     ยุติธรรมจะไม่สามารถแก้ไขได้หากมีการประหารชีวิต

                             ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะ
                     กระแสของหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้มีการกำาหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  ตลอดจน
                     พิธีสารเลือกรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  รวมทั้งกฎหมาย

                     ระหว่างประเทศที่ออกมาเรียกร้อง รวมทั้งรองรับต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังจะเห็นได้จาก

                     พิธีสารเลือกรับฉบับที่สองแห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                     (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights)






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 125
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143