Page 127 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 127

เป็นผู้ที่มีฐานะยากจน มีการศึกษาไม่สูงมากนัก เป็นชนกลุ่มน้อย และเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางจิต
                  เช่นเดียวกับ The Evangelical Lutheran Church ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ The Southern

                  Baptist Convention ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต (Capital Punishment, 2008)

                                  และนิกายโปรเตสแตนต์ (Protestants) ผู้นำาหลายคน รวมทั้งมาร์ธิน ลูเธอร์
                  (Martin Luther) และ จอห์น เคลวิน (John Calvin) ได้เห็นด้วยกับแนวคิดเก่า ๆ ที่เคยปฏิบัติมา
                  คือ เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนิกายนี้ได้มีการต่อต้านโทษประหาร

                  ชีวิต จากคำาสอนที่สอนให้รักศัตรู (Capital Punishment, 2008)

                                  สรุปได้ว่า  จากคำาสอนของศาสนาคริสต์ที่แม้จะมีการแบ่งเป็นนิกายต่าง  ๆ
                  และในอดีตบางนิกายอาจจะเห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต  ในขณะที่บางนิกายอาจจะ
                  ไม่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต  แต่ในปัจจุบันนี้ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์มีความคิดเห็น

                  ที่เหมือนกันต่อการใช้โทษประหารชีวิต คือ การไม่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต

                                  จากหลักการทางศาสนาและศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิตได้แสดง
                  ให้เห็นว่าโทษประหารชีวิตมีความขัดแย้งกับหลักการทางศาสนาของทุกศาสนา  โดยเฉพาะ
                  ศาสนาพุทธ  ศาสนายิว  และศาสนาคริสต์  ที่ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่

                  ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะการทำาลายชีวิตเป็นการกระทำาที่ขัดต่อหลักศีลธรรม อย่างไรก็ตาม แม้ศาสนา

                  อิสลามจะมีข้อกำาหนดให้สามารถประหารชีวิตได้  แต่เหยื่อหรือครอบครัวของเหยื่อมีสิทธิ
                  ที่จะขออภัยโทษได้  อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของทุกศาสนาที่ต้องการให้สังคมมี
                  ความสงบสุขด้วยการให้อภัยทาน  โดยเฉพาะการให้ชีวิตเป็นทานจะสร้างความสงบสุขให้เกิด

                  แก่สังคมได้มากกว่าการมุ่งทำาลายชีวิตเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทน  ซึ่งหากสามารถให้โอกาส

                  ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสสำานึกผิดและได้มีโอกาสแก้ตัวจะทำาให้สังคมจะได้รับความสงบและ
                  ร่มเย็นอย่างแท้จริง  ดังเช่นตัวอย่างขององคุลีมาลในพระพุทธศาสนาที่แม้จะฆ่าคนเป็นจำานวน
                  มากเกือบพันคน  แต่เมื่อได้รับโอกาสในการแก้ตัว  ไม่ต้องถูกประหารชีวิต  ทำาให้องคุลีมาล

                  สามารถปฏิบัติธรรมจนกระทั่งมีดวงตาเห็นธรรม  และบรรลุเป็นพระอรหันต์ที่ปราศจากกิเลส

                  และหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้  อันเป็นการปฏิบัติที่บรรลุเป้าหมายสูงสุดทาง
                  พระพุทธศาสนา
                                  อันแสดงให้เห็นว่าโทษประหารชีวิตเป็นการกระทำาที่ขัดกับหลักการทางศาสนา

                  และศีลธรรม  เพราะการประหารชีวิตเป็นการกระทำาที่ไม่อาจทำาให้ผู้กระทำาผิดมีโอกาสได้แก้ไข

                  ตัวเองได้อีกเลย และการแก้แค้นตาต่อตา ฟันต่อฟัน ไม่ได้ทำาให้สังคมสงบสุขอย่างแท้จริง หากแต่
                  จะทำาให้เกิดแต่ความสูญเสีย ซึ่งถ้าเกิดความผิดพลาดย่อมไม่มีโอกาสในการแก้ไข และเป็นการสร้าง
                  บาปที่มากยิ่งขึ้นตามหลักพุทธศาสนา ที่เป็นการผูกเวรและกรรมกันตลอดไป หากไม่รู้จักถึงการให้อภัย

                  เพื่อตัดวงจรแห่งการก่อกรรมให้จบสิ้นไป

                                  ดังนั้น จากหลักการทางศาสนาและศีลธรรมสามารถสรุปได้ว่า การประหารชีวิต
                  เป็นการกระทำาที่ขัดต่อหลักศาสนาของเกือบทุกศาสนา เพราะทุกศาสนาต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี






       114     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132