Page 128 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 128

และต้องการให้สังคมสงบสุขอย่างแท้จริง ซึ่งหนทางในการทำาให้ทุกคนเป็นคนดี คือ การให้โอกาส
                     ผู้ที่เคยกระทำาผิด  หรือมีความพลาดพลั้งได้มีโอกาสในการกลับตัวเป็นคนดี  หากสามารถทำาให้คน

                     กระทำาผิดเกิดความสำานึกผิดและกลับตัวเป็นคนดีได้ สังคมจะสงบสุขได้อย่างแท้จริง



                             ๒.๕.๒ หลักก�รรักษ�คว�มสงบเรียบร้อยและคว�มเป็นธรรมในสังคม
                                     ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของรัฐจะเกิดขึ้นได้  โดยสมาชิกของสังคม

                     จะต้องมีกติกาของการอยู่ร่วมกัน  โดยกติกาหรือข้อตกลงของคนในสังคมมีไว้เพื่อให้ผู้คนเคารพ

                     และปฏิบัติตาม  ซึ่งหากผู้ใดละเมิดกติกาข้อตกลงของสังคมจะต้องถูกลงโทษเพื่อทำาให้สังคม
                     มีความสงบเรียบร้อยเป็นสำาคัญ  โดยกฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำาคัญในการจัดระเบียบ
                     ให้กับสังคมและกำาหนดหน้าที่ของสมาชิกในสังคมในรูปแบบต่าง  ๆ  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย

                     ของสังคม  โดยกฎหมายจะต้องรับประกันให้บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการดำารงชีวิต  นอกจากนี้

                     กฎหมายจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างการรักษาความสงบเรียบร้อยของคนในสังคม และรับประกัน
                     สิทธิเสรีภาพของคนในสังคมควบคู่กันด้วย ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำาหนดบทลงโทษที่รุนแรง
                     จะมีส่วนสำาคัญในการรักษาความสงบและเรียบร้อยในสังคม  เนื่องจากอาจเป็นมาตรการที่สำาคัญ

                     ในการทำาให้คนในสังคมมีความรู้สึกเกรงกลัวไม่กล้ากระทำาผิด

                                     สำาหรับข้อกำาหนดทางกฎหมายที่สำาคัญต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย
                     และความเป็นธรรมในสังคม  ได้แก่  การกำาหนดบทลงโทษสำาหรับผู้ที่ละเมิดกติกาข้อตกลงร่วมกัน
                     ของสมาชิกในสังคม  ซึ่งการลงโทษดังกล่าวจะต้องเป็นการลงโทษที่มีความสาสมกับความผิด

                     เพื่อทำาให้ผู้กระทำาผิดได้ชดใช้ในสิ่งที่ตนเองได้กระทำาลงไป  ทำาให้เหยื่อหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหยื่อ

                     อาชญากรรมไม่ไปติดตามแก้แค้นผู้กระทำาผิด หรือทำาให้เหยื่ออาชญากรรมเห็นว่ามีความเหมาะสม
                     กับพฤติกรรม  หรือความรุนแรงของอาชญากรรมที่ผู้กระทำาผิดได้กระทำาลงไป  อันทำาให้สังคม
                     ไม่เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย  รวมทั้งเพื่อให้ผู้กระทำาผิดเกิดความเกรงกลัวไม่ต้องการที่จะ

                     กระทำาผิดอีก อันเป็นการข่มขู่ ยับยั้งป้องกันพฤติกรรมของผู้กระทำาผิด และการข่มขู่ยับยั้งบุคคล

                     โดยทั่วไปในสังคมให้เกรงกลัวต่อการกระทำาผิด  อันเป็นการสร้างความสงบสุขและการรักษา
                     ความเรียบร้อยของสังคมเป็นสำาคัญ
                                     ทฤษฎีการลงโทษโดยรัฐเพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยและความ

                     เป็นธรรมในสังคม  แบ่งออกเป็น  ๒  ทฤษฎีที่สำาคัญ  คือ  ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน  (Retributive

                     Theory) และทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian Theory) โดยเป็นทฤษฎีซึ่งมุ่งที่ความรับผิดชอบ
                     ที่ผู้กระทำาผิดจะต้องมีต่อผู้เสียหายหรือต่อผู้อื่นในสังคม  กับผลของการลงโทษแก่ผู้กระทำาผิด
                     ที่มีต่อผู้อื่น  ทั้งนี้  เพราะพื้นฐานการลงโทษตามทฤษฎีทดแทนมุ่งพิจารณาถึงการที่ผู้กระทำาผิด

                     จะต้องชดใช้  (paid)  ต่อสิ่งที่ผู้กระทำาผิดได้กระทำาลงไป  ในขณะที่พื้นฐานการลงโทษตามทฤษฎี

                     อรรถประโยชน์เน้นที่วิธีการป้องกันมิให้ผู้กระทำาผิดและบุคคลอื่น ๆ  ได้กระทำาผิดขึ้นอีกในอนาคต
                     ดังนี้






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 115
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133