Page 86 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 86

85


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                            •  สำานักงานสถิติแห่งชาติ มีภารกิจหลัก ๓ ด้าน คือ การผลิตข้อมูลสถิติ การให้บริการ
                               ด้านสถิติ และการบริหารจัดการระบบสถิติของประเทศ  ทั้งนี้ การดำาเนินงานในส่วนที่
                               เกี่ยวข้องกับสาระแห่งสิทธิที่กำาหนด คือ การจัดทำาสถิติที่สนับสนุนตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน

                               ซึ่งอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบสถิติของประเทศ ตามแผนแม่บท
                               ระบบสถิติประเทศไทย ซึ่งมีคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย ๓ ด้าน และมี
                               คณะอนุกรรมการสถิติรายสาขา จำานวน ๒๑ คณะ ดำาเนินการเพื่อให้ระบบสถิติของ

                               ประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลสถิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                               เป็นเอกภาพไม่เกิดความซ้ำาซ้อน ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรในการจัดทำา

                            •  ตัวชี้วัดทั้ง  ๓  ประเภท  คือ  ตัวชี้วัดโครงสร้าง  ส่วนใหญ่แล้วเป็นตัวชี้วัดที่บัญญัติ
                               ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายแรงงาน หรือกฎหมายเฉพาะของหน่วยงาน

                               ที่ทำาหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม น่าจะมีความเหมาะสม
                               กับสาระแห่งสิทธิที่กำาหนดขึ้น สำาหรับตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ ส่วนใหญ่

                               เป็นตัวชี้วัดกระบวนการการดำาเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
                               ซึ่งตัวชี้วัดทั้ง ๓ ประเภทน่าจะมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน

                            •  ชุดตัวชี้วัดในแต่ละสิทธิน่าจะมีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์อย่างเหมาะสม และเกี่ยวข้องกับ
                               แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยและแผนพัฒนาสถิติรายสาขา ดังนี้
                               -  กลุ่มตัวชี้วัดที่ ๑  สิทธิในการกำาหนดตนเอง และการมีส่วนร่วมในบริหารกิจการสาธารณะ

                                                 มีองค์ประกอบที่เป็นสาระแห่งสิทธิ ๓ ด้าน มีความเกี่ยวข้องกับ
                                                 แผนพัฒนาสถิติ สาขายุติธรรม ความมั่นคง การเมืองการปกครอง
                               -  กลุ่มตัวชี้วัดที่ ๒  สิทธิในชีวิต และความมั่นคงในชีวิตร่างกาย มีองค์ประกอบที่เป็นสาระ

                                                 แห่งสิทธิ ๘ ด้าน มีความเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาสถิติสาขายุติธรรม
                                                 ความมั่นคง การเมืองการปกครอง และสาขาประชากรศาสตร์

                                                 ประชากรและเคหะ
                               -  กลุ่มตัวชี้วัดที่ ๓  สิทธิในความเท่าเทียมทางกฎหมาย และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
                                                 ทางอาญา มีองค์ประกอบที่เป็นสาระแห่งสิทธิ ๕ ด้าน สาขายุติธรรม

                                                 ความมั่นคง การเมืองการปกครอง และสาขาประชากรศาสตร์
                                                 ประชากรและเคหะ

                               -  กลุ่มตัวชี้วัดที่ ๔  สิทธิเกี่ยวกับมโนธรรม ความคิดเห็น การแสดงออก การสมาคม
                                                 และการชุมนุม และสิทธิเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาสถิติ สาขายุติธรรม
                                                 ความมั่นคง การเมืองการปกครอง และแรงงาน

                               -  กลุ่มตัวชี้วัดที่ ๕  สิทธิด้านเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม มีองค์ประกอบที่เป็นสาระ
                                                 แห่งสิทธิ ๑๐ ด้าน มีความเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาสถิติ สาขาแรงงาน
                                                 สาขาสวัดิการสังคม สาขาสุขภาพ สาขาการศึกษา สาขาประชากรศาสตร์

                                                 ประชากรและเคหะ สาขาหญิงและชาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้อง
                                                 กับตัวชี้วัดที่สำานักงานสถิติแห่งชาติดำาเนินการ
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91