Page 85 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 85

84


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                         ความเห็นของ ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์  ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                         •  ภาษาที่ใช้ในการกำาหนดสาระแห่งสิทธิในด้านต่างๆ ในตัวชี้วัด ควรจะต้องใช้ให้สอดคล้อง
                            กันทั้งหมด  และควรต้องใช้ภาษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป  นอกจากนั้นตัวชี้วัดควรใช้ภาษา
                            ที่เข้าใจง่าย และมีความชัดเจน ไม่ทำาให้เกิดความคลุมเครือ

                         •  ควรแบ่งตัวชี้วัดของสิทธิในแต่ละด้านว่าเป็นพันธะหน้าที่ที่เกิดขึ้นตามกติการะหว่าง

                            ประเทศด้านใด (ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                            หรือตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม) ทั้งนี้
                            เนื่องจากในการดำาเนินงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีกรรมการที่รับผิดชอบ

                            ดูแลงานทั้งสองด้านแยกกัน และมีอนุกรรมการรับผิดชอบคนละคณะ การกำาหนดว่า
                            ตัวชี้วัดใดเป็นตัวชี้วัดสิทธิตามกติการะหว่างประเทศฉบับใด  ทำาให้มีความชัดเจน

                            ในการปฏิบัติงาน
                         •  เนื้อหาสาระแห่งสิทธิตามร่างชุดตัวชี้วัดนั้นครอบคลุมสิทธิมนุษยชนตามที่รับรองไว้

                            ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว ในการศึกษาครั้งนี้ยังไม่ต้องคำานึงถึงการกำาหนด
                            ตัวชี้วัดที่ต้องการข้อมูลบ่งถึงตัวบุคคล (disaggregated data) ซึ่งเป็นรายละเอียด
                            ค่อนข้างมาก แต่ควรเป็นตัวชี้วัดขั้นพื้นฐานที่สำาคัญๆ

                         •  ข้อมูลที่ต้องการตามตัวชี้วัดอาจไม่มีการจัดเก็บโดยหน่วยงานของรัฐ หรือไม่มีหน่วยงานที่
                            รับผิดชอบที่ชัดเจนในการเก็บรวมรวมข้อมูล นอกจากนั้น ควรคัดเลือกตัวชี้วัดที่สำาคัญๆ

                            ออกมาให้เหลือจำานวนไม่มาก เพื่อประโยชน์ในการประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณี

                         •  การแบ่งตัวชี้วัดออกเป็นสามประเภท (ตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัด
                            ผลลัพธ์) ทำาให้เห็นพันธะหน้าที่ของรัฐ อันจะช่วยให้มีการจัดทำาข้อเสนอเพื่อช่วยให้มี
                            การปรับปรุงด้านกฎหมาย และนโยบายได้ดียิ่งขึ้น เหมาะสมกว่าพิจารณาเฉพาะตัวชี้วัด

                            ที่เป็นการละเมิด หรือใช้เหตุการณ์การละเมิดเป็นฐานในการกำาหนดตัวชี้วัด



                         ความเห็นของ นางเบ็ญจพร  ฉัตรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำานวยการ สำานักงานสถิติแห่งชาติ

                           (ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ความเห็น จำานวน ๔ ท่าน)

                         •  การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้น  คณะผู้ศึกษาเลือกใช้กรอบการพัฒนาตัวชี้วัด
                            สิทธิมนุษยชนตามแนวทางที่สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
                            ที่ได้ดำาเนินการอยู่ ซึ่งได้ตอบสนองหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว

                            (แนวคำาสัมภาษณ์ หน้า ๖)  และคณะผู้วิจัยได้ใช้การจัดทำาชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของ
                            สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มาศึกษาเปรียบเทียบ

                            ประกอบในการจัดทำา ดังนั้น มีความเห็นว่าสาระแห่งสิทธิที่กำาหนดขึ้น น่าจะมีความ
                            ครอบคลุมสิทธิต่างๆ ตามที่ได้รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                         •  สาระแห่งสิทธิที่ได้กำาหนด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการบังคับใช้
                            กฎหมาย และสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90