Page 82 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 82

81


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                              •  ผลการศึกษาควรจะต้องแสดงให้เห็นว่า ได้ตัวชี้วัดรวมทั้งหมดมีจำานวนเท่าใด  และ
                                 จำาแนกเป็นตัวชี้วัดโครงสร้างจำานวนเท่าใด  ตัวชี้วัดกระบวนการจำานวนเท่าใด  ตัวชี้วัด
                                 ผลลัพธ์จำานวนเท่าใด

                              •  ตัวชี้วัดที่นำาเสนอมีความครอบคลุมสิทธิด้านต่างๆ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                                 และกติการะหว่างประเทศสองฉบับแล้ว การที่ผู้ศึกษาสรุปความเห็นร่วมอันสำาคัญ

                                 (General Comments) ตลอดจนเอกสารรายงานของประเทศไทยต่อหน่วยงาน
                                 ระหว่างประเทศเป็นพื้นฐานเป็นจุดแข็งของโครงการนี้และจะเป็นพื้นฐานหลักการ

                                 ทางกฎหมายให้กับผู้ศึกษาสิทธิมนุษยชนต่อไปได้  แต่ควรที่จะเพิ่มเติมไปถึงพิธีสาร
                                 เลือกรับด้วย  นอกจากนั้น ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนควรที่จะครอบคลุมอนุสัญญาสิทธิมนุษยชน
                                 ที่ไทยเป็นภาคีทั้งหมด ซึ่งอาจจะต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมภายหลัง

                              •  ควรจัดลำาดับความสำาคัญชุดตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้น เช่น เป็นตัวชี้วัดที่จะต้องมีหรือขาด

                                 ไม่ได้ ตัวชี้วัดที่ควรจะต้องมี และตัวชี้วัดที่มาเสริม (เช่น การวัดคุณภาพของผลลัพธ์)
                                 ทั้งนี้จะต้องพิจารณาประกอบกับตราสารสิทธิมนุษยชนว่า ประเด็นใดที่สำาคัญที่สุด
                                 ในสิทธิเรื่องนั้นๆ ประเด็นใดเป็นประเด็นรอง ซึ่งในตราสารสิทธิมนุษยชนจะมีสิ่งนี้

                                 แสดงอยู่ จะต้องพิจารณาประกอบกับเจตนารมณ์ของตราสารนั้นๆ และต้องพิจารณา
                                 ประกอบกับบทบังคับ หรือ Sanction (เช่น ระยะเวลาการควบคุมตัว การอุ้มหาย) หรือ
                                 เป็นเพียงเป้าหมายที่ต้องการให้มีความก้าวหน้าขึ้น (เช่น สภาพห้องขัง ความพึงพอใจ

                                 ของผู้ที่ได้รับบริการทางการแพทย์ หรือความสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา)
                              •  การแบ่งตัวชี้วัดออกเป็นตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัดกระบวนการ ตัวชี้วัดผล เป็นสิ่งที่ดี

                                 ที่ทำาให้คลุมพันธะหน้าที่ของรัฐทุกด้าน ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นควรสะท้อนหน้าที่ทุกด้าน
                                 ของรัฐ แต่ยังมีตัวชี้วัดหลายตัวที่ยังสลับที่กัน เช่น งบประมาณในการศึกษา (ไม่ใช่

                                 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ แต่เป็นตัวชี้วัดกระบวนการ)
                              •  สิทธิหลายด้านยังไม่มีตัวชี้วัดผลลัพธ์ คณะผู้ศึกษาอาจต้องพิจารณาเพิ่มเติม เช่น

                                 สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย อาจพิจารณาจาก จำานวน หรือสภาพของคนที่ต้องไปอยู่อาศัย
                                 ใต้สะพาน หรือจำานวนคน หรือจำานวน cases หรือสภาพความรุนแรงของคนนอน
                                 ข้างถนน

                              •  ตัวชี้วัดผลลัพธ์ส่วนใหญ่จะชี้ถึงจำานวน หรือปริมาณ ควรจะต้องเพิ่มมิติคุณภาพของ
                                 ผลลัพธ์ด้วย เช่น ความพึงพอใจของการบริการที่ได้รับจากแพทย์ คุณภาพของการ

                                 ศึกษา ความพึงพอใจของเหยื่อที่ถูกละเมิดในคดีอาญา  แม้ว่าตัวชี้วัดที่จัดทำาขึ้นนี้
                                 เป็นตัวชี้วัดเบื้องต้น แต่บางเรื่องสามารถมีตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่บ่งถึงคุณภาพได้และต่อไป

                                 น่าจะมีการพัฒนาในส่วนนี้ให้ลึกมากขึ้น
                              •  การใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข หรือเชิงปริมาณ จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และต้องใช้

                                 ตรรกศาสตร์ประกอบด้วย เพราะหลายๆ กรณีที่ตัวเลขอาจไม่สื่อถึงความรุนแรงของ
                                 ปัญหา หรืออาจมีการผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ตัวเลขจำานวนสถิติผู้หญิง
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87