Page 81 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 81

80


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                  ๓.๓.๓  สรุปผลการสัมมนาครั้งที่สาม (การวิจารณ์รายงานการจัดทำาตัวชี้วัด)

                           เมื่อได้จัดทำาร่างชุดตัวชี้วัดสุดท้ายแล้ว  คณะผู้ศึกษาได้มีการจัดประชุมเพื่อวิจารณ์รายงาน
                  การศึกษาโครงการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจาก
                  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน และด้านการวัดผล ขึ้นในวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุม

                  สำานักงาน  กสม. มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวม ๒๕ คน

                           การสัมมนาแบ่งเป็น สามช่วง ดังนี้


                           ช่วงแรก เป็นการนำาเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการศึกษา
                  และพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ผลจากการศึกษาโครงการ ข้อสรุปและข้อเสนอแนะจากการศึกษา
                  ตามโครงการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย ศรีรัตน์  ผู้อำานวยการศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

                  สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หัวหน้าคณะผู้ศึกษา

                           ช่วงที่สอง  เป็นการวิจารณ์รายงานผลการศึกษาตามโครงการฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่วิจารณ์
                  รายงานการศึกษาฯ ประกอบด้วย
                           •  นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ

                              ด้านสิทธิมนุษยชน)
                           •  รองศาสตราจารย์ ดร. สมคิด พรมจุ้ย อาจารย์ประจำาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์

                              มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวัดผล)
                           •  ดร. จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
                              ประจำาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  และ

                              อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ของ กสม.
                              (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน)

                           ช่วงที่สาม  เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนา

                  ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและจากที่ประชุมฯ มีดังนี้

                           •  รายงานควรเคร่งครัดในเรื่องรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัย เช่น วัตถุประสงค์ของ
                              การศึกษา ขอบเขตการศึกษา และวิธีการศึกษา เป็นต้น  เนื่องจากเป็นโครงการศึกษา
                              วิจัย และกระบวนการพัฒนาตัวชี้วัดของคณะผู้ศึกษาก็เป็นแบบวิจัย

                           •  เนื้อหายังไม่มีการอธิบายความหมายตัวชี้วัด ลักษณะตัวชี้วัดที่ดี หรือตัวชี้วัดที่มี

                              คุณภาพว่าควรมีลักษณะอย่างไร ซึ่งควรเพิ่มเติมในประเด็นนี้
                           •  การพัฒนาตัวชี้วัดได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมาก แต่รายงานยังไม่ได้เสนอ

                              ความเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำาคัญ  ควรเพิ่มเติมและ
                              แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนามาจากภาคส่วนไหน จำานวนเท่าใด

                           •  การใช้คำา ในรายงานควรมีความสอดคล้องต้องกันทั้งฉบับ ในกรณีที่เป็นศัพท์ที่มาจาก
                              ต่างประเทศ และมีการแปลไว้หลายความหมาย ควรใช้ตามที่แปลโดยกระทรวงการ

                              ต่างประเทศ
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86