Page 83 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 83
82
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ถูกกระทำารุนแรงในครอบครัว อาจเป็นเพียงหนึ่งในร้อยของความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
เพราะเจ้าพนักงานอาจไม่ลงบันทึกประจำาวัน ถ้าพิจารณาเฉพาะตัวเลขอาจจะทำาให้
จัดลำาดับปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขผิดไป
• ตัวชี้วัดที่ดีต้องนำาไปใช้ได้จริง มีที่มาจากสาระแห่งสิทธิ ซึ่งผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการที่
ถูกต้องแล้วโดยการทบทวนตราสารและเอกสารมา แต่เมื่อพัฒนามาเป็นตัวชี้วัดแล้ว
ต้องพิจารณาต่อไปว่าตัวชี้วัดนั้นนำาไปใช้ได้จริงหรือไม่ หาข้อมูลมาตอบตัวชี้วัดได้ไหม
ซึ่งประเด็นนี้สัมพันธ์กับองค์กร หรือหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล
• ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมสัมมนาบางคนเห็นว่า ข้อมูลที่จะต้องหาเพื่อตอบตัวชี้วัดอาจ
จะไม่มีการจัดเก็บ หรือมีความยากลำาบากในการได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการ “อุ้มหาย”
(การบังคับให้บุคคลสูญหายโดยการใช้กำาลัง)
• ข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น
- ควรเพิ่มเติมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิการเข้าถึง เรื่องของการส่งเสริม
และคุ้มครองสตรีในภาวะการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือเด็กในวัยที่
ไม่พร้อมตั้งครรภ์
- ต่อไปควรพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เน้น “สิทธิในยุคที่สาม” (The Third
Generation Rights) เช่น สิทธิในการพัฒนา สิทธิชุมชน ขึ้นบ้าง
- รัฐควรมีหน่วยงานกลางที่เก็บรวบรวมข้อมูล และกลั่นกรองข้อมูล (ข้อมูล
ที่น่าเชื่อถือได้ ไม่ใช่สร้างตัวเลขขึ้น) หน่วยงานที่จดทะเบียน หรือเก็บข้อมูล
จากประชาชน อาจจะต้องออกแบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ หรืออาจจะต้อง
ทำาวิจัย
- ข้อมูลที่ใช้ในงานประเมินตามตัวชี้วัดจะแบ่งได้เป็น สามระดับ คือ
๑. ข้อมูลพร้อมใช้จากสถิติทั้งหลายที่มีอยู่
๒. ข้อมูลขอให้มีการจัดเก็บ
๓. ข้อมูลไม่มีต้องวิจัยเพิ่ม
เป็นหน้าที่ของ สำานักงาน กสม. มาดูว่า ข้อมูลไหนพร้อมใช้ อยากขอให้จัดเก็บ
หรือต้องวิจัยเพิ่ม
- ควรมีการพิมพ์เผยแพร่ตัวชี้วัดและฝึกอบรมให้กับบุคลากรในหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้นำาความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วม
การสัมมนา มาใช้ประโยชน์และปรับแก้ไขในรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์นี้แล้ว