Page 88 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 88
87
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนก็จะทำาให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติได้ถูกต้อง
สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน จะส่งผลดีต่อการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้
เนื่องจากการปฏิบัติงานของตำารวจจะมีลักษณะเป็น “การเน้นภารกิจ” หรือต้องการ
ผลสำาเร็จเป็นสำาคัญ
• สาระแห่งสิทธิที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกาย และสิทธิกระบวนการ
ยุติธรรม ครอบคลุมประเด็นสำาคัญๆ แล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ตัวชี้วัด
- สิทธิหลายด้านที่ยังไม่มีตัวชี้วัดผลลัพธ์ในร่างตัวชี้วัด ควรที่จะกำาหนดขึ้น
ให้สอดคล้องกับพันธะหน้าที่ขั้นต่ำาของรัฐ และพิจารณาประกอบกับสภาพ
ความเป็นจริงของภาระงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (ตำารวจ) ซึ่งมีภาระงาน
หลายด้านมาก
- ตัวชี้วัดโครงสร้างที่กำาหนดให้เป็นภาคี ส่วนใหญ่ประเทศไทยเป็นภาคีแล้ว
น่าจะพิจารณาถึง การนำามาปรับใช้ โดยการใช้กฎหมายภายใน (กฎหมาย
อาญา กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติ) เป็นตัวชี้วัด และควรลงรายละเอียดของ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ตัวชี้วัดโครงสร้างที่กำาหนดแผนและนโยบายควรมีการบ่งชี้ถึงการนำาไปใช้
และควรมีตัวชี้วัดที่แสดงถึงคุณภาพของการใช้แผน หรือนโยบาย ตัวชี้วัด
โครงสร้างควรพิจารณารวมถึง ทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรรอย่างพอเพียง
เพื่อให้การดำาเนินงานบรรลุเป้าหมายด้วย
- ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่กำาหนดขึ้น บางตัวยังไม่สอดคล้องกับสภาพการที่เป็นจริง
บางตัวคลุมเครือ เช่น ความพึงพอใจของเหยื่อ ควรระบุว่า ความพึงพอใจ
เรื่องใด ในขั้นตอนใด (ในชั้นมีคำาพิพากษา หรือชั้นการดำาเนินคดี)
- ตัวชี้วัดที่กำาหนดขึ้นอาจมีความยากลำาบากในการได้ข้อมูล เพราะยังไม่มีการ
จัดเก็บข้อมูลที่ตัวชี้วัดต้องการหลายประเภท นอกจากนั้น อาจมีปัญหาว่า
หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้น
- ไม่ควรเน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลขอย่างเดียว เช่น จำานวนคดี เปอร์เซนต์ เพราะ
ตัวเลขเหล่านี้จัดทำาขึ้นได้ (แต่งตัวเลข) นอกจากนั้น หน่วยงานต่างๆ
(ไม่เฉพาะแต่ตำารวจ) ก็มีวีธีการตกแต่งตัวเลขเพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด
(หรือเป้าหมาย) ควรมีข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วย
• คิดว่าถ้ามีกรอบตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้นจะช่วยให้การดำาเนินงานของเจ้าพนักงานตำารวจ
มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งน่าเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงาน
ความเห็นของ นายขรรค์ชัย คงเสน่ห์ ผู้อำานวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำานักบริหารกลาง
สำานักงาน กสม.
• การแบ่งสาระแห่งสิทธิเป็นห้ากลุ่มและในแต่ละกลุ่มแบ่งเป็นด้านๆ ครอบคลุมมิติสิทธิ
ด้านต่างๆ ของสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลเพียงพอแล้ว และ