Page 91 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 91
90
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นการศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการดำาเนินการวิจัยในการกำาหนดตัวชี้วัด
ด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นทั้งตัวชี้วัดในเชิงโครงสร้าง
(structural indicators) ตัวชี้วัดกระบวนการ (process indicators) และตัวชี้วัด
ผลลัพธ์ (outcome indicators) รวมถึงการกำาหนดแหล่งที่มาและลักษณะของ
พันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนกำาหนดสาระแห่งสิทธิที่รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศสองฉบับที่ถือว่าเป็นตราสารสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศ
ขั้นตอนที่สอง คณะผู้ศึกษาได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการรับฟังความเห็นจาก
ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคส่วนต่างๆ (ดูในหัวข้อที่ ๓.๓.๑) โดยนำาเสนอกรอบแนวคิด
และขอบเขตของตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน กรอบพันธกรณี และสาระแห่งสิทธิที่เป็นพื้นฐาน
ในการกำาหนดตัวชี้วัดขึ้น (ที่ได้จากการศึกษาในขั้นที่หนึ่ง) การสัมมนาครั้งนี้ทำาให้
คณะผู้ศึกษาได้ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบพันธกรณีและปัญหาการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ในทางปฏิบัติอันจะช่วยในการพัฒนาตัวชี้วัดให้สะท้อนปัญหาอันเฉพาะของประเทศไทย
และมีมิติครอบคลุมสิทธิด้านต่างๆ
ขั้นตอนที่สาม เป็นการปรับแก้ตัวชี้วัดโดยการนำาข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาครั้งที่หนึ่งมาประกอบกับ
การศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร ตราสารสิทธิมนุษยชน และแหล่งที่มาของปทัสถาน
ของพันธกรณีตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตลอดจนประเด็นเฉพาะปัญหา
สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (ดูในแผนภูมิที่ ๑ ประกอบ) ประกอบกับใช้ตัวอย่าง
การจัดทำาตัวชี้วัดของสำานักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ และตัวอย่างของสหราช
อาณาจักร สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประกอบ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้
คณะผู้ศึกษาได้ร่างตัวชี้วัดร่างที่หนึ่ง ประกอบด้วยตัวชี้วัด หกด้าน (ต่อมาได้มีการปรับ
เหลือห้าด้านตามข้อเสนอแนะจากการประชุมครั้งที่สอง)
ขั้นตอนที่สี่ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่สอง เพื่อพิจารณารายงานข้อเสนอตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
ที่ได้ปรับแก้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนหรือ
เป็นผู้ที่จะต้องจัดเก็บข้อมูลโดยตรงเพื่อให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดตัวชี้วัด
ที่หน่วยงานของตนเกี่ยวข้อง (ดูหัวข้อ ๓.๓.๒ ประกอบ)
ขั้นตอนที่ห้า เป็นการปรับแก้ครั้งที่สอง โดยเน้นที่คุณภาพของตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวิทยาการ
การวัดผลและพัฒนาตัวชี้วัดให้ตัวชี้วัดสะท้อนสิทธิด้านต่างๆ ตามที่ได้รับข้อคิดเห็น
จากการสัมมนาครั้งที่สอง หลังจากนั้นเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย
(ดูหัวข้อที่ ๓.๓.๔ ประกอบ) ซึ่งเป็นการสอบถามความเห็นผู้ที่มีส่วนโดยตรงกับ
ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นหลังจากมีการปรับแก้ครั้งที่สอง ทั้งผู้ที่เป็นผู้ปฏิบัติภาครัฐที่จะต้อง
ถูกตรวจสอบโดยตัวชี้วัด และ กสม. ซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้ตัวชี้วัดในการติดตามตรวจสอบ