Page 89 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 89
88
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
• ในการพัฒนาตัวชี้วัด ไม่ควรกำาหนดไว้ก่อนว่าจะต้องมีตัวชี้วัดกี่ตัว แต่ควรพิจารณาจาก
ความจำาเป็นที่ต้องการที่จะให้ข้อมูลแสดงเป้าหมาย ที่ขึ้นอยู่กับการทบทวนสาระแห่งสิทธิ
ด้านต่างๆ ตัวชี้วัดอาจมีเป็นร้อยตัว แต่เมื่อได้แล้วจะต้องพิจารณาทั้งหมด จัดกลุ่มว่าตัว
ชี้วัดใดที่เป็นตัวชี้วัดร่วมกันได้ ตัวชี้วัดใดเป็นตัวชี้วัดที่สำาคัญที่สุด ตัวชี้วัดใดไม่มีความ
สำาคัญ
• ในร่างตัวชี้วัดยังขาดตัวชี้วัดผลลัพธ์ของสาระแห่งสิทธิอีกหลายด้าน ควรพิจารณาเพิ่ม
ให้ครบถ้วนเพราะตัวชี้วัดผลลัพธ์จะแสดงผลการดำาเนินงานของรัฐบาลโดยชัดเจน ตัวชี้วัด
ผลลัพธ์ควรจะแสดงเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่เห็นได้ชัด เช่น สัดส่วน หรือร้อยละ หรือ
จำานวน เป็นต้น
• ตัวชี้วัดบางตัว สามารถบ่งถึงเป้าหมายอื่นได้ หรือสามารถเป็นตัวชี้วัดสาระแห่งสิทธิ
ด้านอื่นๆ ได้ด้วย
• ควรกำาหนดเกณฑ์ขั้นตำ่าในการผ่านหรือไม่ผ่าน เช่น สัดส่วน ควรกำาหนดว่ากี่เปอร์เซนต์
ถึงผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
• ควรมีการจัดลำาดับความสำาคัญของตัวชี้วัดในแต่ละช่อง เพื่อให้เห็นว่า เป็นตัวที่ต้องมี
ขาดไม่ได้ ตัวชี้วัดที่ควรจะมี หรือตัวชี้วัดที่เสริม อาจจะไม่มีก็ได้ หรืออาจจัดลำาดับความ
สำาคัญเป็น ๑-๒-๓
• ควรมีเกณฑ์หลายเกณฑ์ในตัวชี้วัดเรื่องหนึ่ง โดยอาจใช้ข้อมูลคนละชุดในการใช้พิจารณา
ประเมิน เช่น สิทธิในการศึกษาภาคบังคับ ตัวชี้วัดที่ชี้คุณภาพอาจใช้ข้อมูลจำานวนร้อยละ
ของนักเรียนที่สำาเร็จการศึกษา หรือร้อยละของนักเรียนที่ออกกลางคัน หรือร้อยละของ
อัตราผู้รู้หนังสือต่อจำานวนประชากร หรืองบประมาณที่จัดสรรในการพัฒนาครูผู้สอน
หรือความพอเพียงของสื่อหรือเทคโนโลยีการเรียนการสอน ฯลฯ
• ตัวชี้วัดบางตัวไม่สำาคัญ อาจพิจารณาตัดออกได้ บางตัวใช้ข้อมูลอื่นมาบ่งชี้ได้
ความเห็นของ นายกมล สวัสดิ์ชูแก้ว ผู้อำานวยการสำานักแผนและยุทธศาสตร์ กระทรวงแรงงาน
• เห็นว่า สาระแห่งสิทธิตามร่างตัวชี้วัดมีความเกี่ยวพันกับกระทรวงแรงงานน้อย สิทธิด้าน
แรงงานยังไม่สะท้อนในการปฏิบัติตามพันธกรณีตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ดังนั้น ควรเน้นที่การป้องกันแรงงานข้ามชาติ แรงงานบังคับ การค้าหญิงและเด็ก
ซึ่งภารกิจเหล่านั้น (ข้อมูล) ไม่อยู่ในภาระของกระทรวงแรงงาน
• ในส่วนของสวัสดิการแรงงานมีปรากฏอยู่ในตัวชี้วัดแล้ว ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ให้การ
คุ้มครองตามมาตรฐานขั้นตำ่าไม่น่าจะมีปัญหา ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นอาจทำาให้เกิดความ
ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสถิติยังกระจัดกระจายหรืออาจไม่มี ควรที่จะมีหน่วยงาน
กลางในการจัดเก็บหรือประสานงานบริหารข้อมูล