Page 80 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 80

79


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                              •  ตัวชี้วัดที่ระบุให้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ  ควรระบุให้ชัดว่า
                                 เป็นมาตรฐานเรื่องอะไร และถ้ากฎหมายของไทยยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานเหล่านั้น
                                 ควรจะทำาอย่างไร

                              •  ตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา  ควรจะจำาแนกปัญหาที่เกิดขึ้น
                                 ในระบบที่ต่างกัน คือ ในชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ ศาล และราชทัณฑ์  และควร

                                 คำานึงถึงสิทธิของผู้เสียหายด้วย

                              •  ตัวชี้วัดเกี่ยวกับสิทธิทางเศรษฐกิจของผู้หญิง มักจะเป็นเรื่องการเข้าถึงบริการของรัฐ
                                 ที่มีข้อกำาหนดต่างกับบุรุษ เช่น การเข้าถึงแหล่งทุน หรือเงินกู้  นอกจากนั้น กฎหมาย
                                 ที่กีดกันสตรี ยังมีอยู่โดยเฉพาะการทำานิติกรรมของผู้หญิง

                              •  ตัวชี้วัดกลุ่มที่หก  สิทธิของคนพิการ ตัวชี้วัดโครงสร้าง คือ เป็นภาคี CRPD แผนพัฒนา

                                 คุณภาพชีวิตของคนพิการ ซึ่งปัจจุบันเป็นแผนฉบับที่ ๔ นอกจากนั้นควรมีการรับรอง
                                 สิทธิไว้ในกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคนพิการ มาตรการ
                                 เกี่ยวกับคนจ้างงาน  ตอนนี้เรามีกฎหมายใหม่ มาตรา ๓๕  การจ้างงานที่ทางภาครัฐ

                                 และเอกชนต้องรับคนพิการลูกจ้าง ๑๐๐ คนต่อคนพิการหนึ่งคน  ตัวชี้วัดกระบวนการ
                                 มีการฝึกอบรม และสร้างความตระหนักให้กับคนพิการ ที่ส่วนใหญ่คนพิการจะ
                                 มาจากรากหญ้าหรือชนบท ซึ่งเขาจะไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ มีกลไกหรือ

                                 กระบวนการในการสร้างความตระหนัก รวมถึงการมีทัศนคติของคนในสังคมที่ดีต่อ
                                 คนพิการ

                              •  ในเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ และสวัสดิการ ที่เกี่ยวกับคนพิการควรเน้นการเข้าถึง ตัวชี้วัด
                                 ทุกตัวควรมีมิติเกี่ยวกับคนพิการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีการให้สิ่งอำานวยความ

                                 สะดวกอย่างเหมาะสมและมีเหตุผล
                              •  ตัวชี้วัดผลจำานวนที่ผู้พิการร้องเรียนว่า มีการเลือกปฏิบัติ  อยากจะให้เพิ่มสำานักงาน

                                 ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและพัฒนา
                                 ความมั่นคงของมนุษย์เข้าไปในการได้รับขัอมูลในตัวชี้วัด

                              •  เพิ่มตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ให้ดูที่คุณภาพชีวิตของคนพิการให้มากขึ้นด้วย เมื่อเปรียบเทียบ
                                 ชีวิตของคนพิการจากอดีตกับปัจจุบัน

                              •  เน้นการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง  มีการต้อนรับคนพิการ และมีสิ่งอำานวย
                                 ความสะดวก การเข้าถึงฐานข้อมูล การเข้าถึงสิทธิทุกๆ อย่าง ขอให้พิจารณาเรื่อง

                                 อนุสัญญาคนพิการด้วย

                              นอกจากนั้น ที่ประชุมยังมีข้อสังเกตว่าข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องใช้เพื่อพิสูจน์เกณฑ์  ยังไม่มี

                     การจัดเก็บ ไม่มีข้อมูลในบางด้าน หรือมีข้อมูลไม่พอเพียง  นอกจากนั้น ข้อมูลที่หน่วยงานที่เป็น
                     ผู้ปฏิบัติมีอยู่อาจซ้ำาซ้อนหรือไม่ตรงกัน ซึ่งอาจเป็นปัญหาในการประเมิน  ดังนั้น จึงควรมีแนวทาง
                     ในการจัดหาข้อมูล  นอกจากนั้นที่ประชุมเสนอว่าเมื่อปรับแก้ตัวชี้วัดแล้ว ควรที่จะให้หน่วยงานที่เป็น

                     ผู้ปฏิบัติ พิจารณาความเหมาะสมดูอีกครั้ง
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85