Page 78 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 78

77


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                              •  การพัฒนาตัวชี้วัดเริ่มจากการพิจารณาพัฒนาแผน และสร้างศักยภาพให้กับบุคลากร
                                 ที่มีบทบาทสำาคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง

                              •  ใช้ประโยชน์จากแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และบูรณาการเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
                                 และสังคมแห่งชาติ รวมถึง การวางแผนงบประมาณประจำาปี ฯลฯ

                              •  ผลักดันนโยบายอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดวางยุทธศาสตร์ และปรับโครงสร้างให้รองรับ

                              •  ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ที่เป็น key stakeholders ในการพัฒนา
                                 เครื่องมือ

                              •  พัฒนาตัวชี้วัดควบคู่ไปกับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยใช้กรอบ
                                 สิทธิมนุษยชนเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  หรือที่เรียกว่า
                                 Human Rights-Based Approach Development




                              หลังจากนั้น ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พิจารณาตัวชี้วัดร่วมกัน
                     ในแต่ละด้าน ทีละเรื่อง  โดยมีนายสันติ ลาตีฟี เจ้าหน้าที่งานด้านพันธกรณีระหว่างประเทศ สำานักงาน
                     กสม. เป็นผู้ดำาเนินการอภิปราย  ในการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ที่ประชุมฯ ได้มีการอภิปราย

                     อย่างกว้างขวาง  ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อมูล ให้ข้อเสนอแนะ และตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างตัวชี้วัด
                     ที่คณะผู้ศึกษานำาเสนอ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคณะผู้ศึกษาในการนำาไปปรับแก้ตัวชี้วัดให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสรุป
                     ประเด็นได้ ดังนี้


                              •  ตัวชี้วัดที่จะพัฒนาขึ้นไม่ควรจำากัดอยู่กับตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน
                                 สิ่งที่บ่งชี้ในด้านคุณภาพของสิทธิมีความสำาคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าปริมาณ  นอกจากนั้น
                                 ไม่ควรจะต้องคำานึงถึงลักษณะเฉพาะของบุคคลที่ถูกละเมิด หรือได้รับผลกระทบ เช่น

                                 ความกลัว ความวิตกกังวลของสตรี  ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตที่ต่างจากบุรุษ
                                 ตัวชี้วัดควรต้องสะท้อนความแตกต่างนี้  ตัวชี้วัดจึงควรออกแบบให้แก้ไขปัญหาได้

                                 ทั้งกระบวนการ ไม่ควรดูแต่เฉพาะตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์
                              •  ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นควรจะต้องมีการนำาไปใช้ปฏิบัติจริง  ทั้งนี้ เพราะหลายกรณีที่มีการ

                                 ศึกษาวิจัยแล้วมิได้นำาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
                              •  ตัวชี้วัดที่นำาเสนอมีอยู่ค่อนข้างละเอียด  แต่ควรพิจารณาว่า อะไรคือปัญหาเร่งด่วน

                                 หรือเป็นปัญหาที่สำาคัญของสังคมไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา  ถ้าทำาได้หมดก็ดี แต่ควร
                                 กำาหนดว่าจะทำาอะไรก่อน หลัง ในกรอบระยะเวลาหนึ่ง

                              •  ตัวชี้วัดเกี่ยวกับสิทธิในการกำาหนดเจตจำานงตนเอง เน้นเรื่องการปลอดจากรัฐประหาร
                                 การเลือกตั้ง และพรรคการเมืองมากเกินไป  แต่ควรออกแบบตัวชี้วัดเพื่อให้สะท้อนถึง

                                 การมีส่วนร่วมในการปกครองที่แท้จริง  ควรมีตัวชี้วัดในเรื่องการเป็นอิสระปลอดจาก
                                 การแทรกแซงขององค์การปกครองจากการเมือง  การส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้และ
                                 ตระหนักถึงสิทธิ
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83