Page 79 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 79

78


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                           •  เรื่องจำานวนหรือสัดส่วนสตรีในองค์กร หรือสถาบันต่างๆ ทางการเมือง เช่น ส.ว. หรือ
                              รัฐมนตรี หรือ ส.ส. อาจไม่ได้สะท้อนถึงคุณภาพของการมีส่วนร่วมของสตรีอย่างแท้จริง

                              (ไม่ได้มีนัยว่ามากขึ้นแล้วการมีส่วนร่วมของสตรีจะดีขึ้น)
                           •  ตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม  มีแต่ตัวชี้วัดโครงสร้างยังมีตัวชี้วัดผลน้อยมาก ขอให้พัฒนา

                              ประเด็นนี้โดยเฉพาะการติดตามให้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และควรจะต้องมี

                              ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพด้วย เช่น การปลอดจากการซื้อสิทธิขายเสียง
                           •  ภาษาในเอกสารที่จัดทำาอาจสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจยาก เช่น การปลอดจากการ

                              ทรมาน หรือการจับกุมตามอำาเภอใจ  ประเด็นนี้น่าจะปรับให้เป็นภาษาที่ง่ายต่อการ
                              เข้าใจ

                           •  ควรชี้ให้เห็นว่า ตัวชี้วัดเป็นการกำาหนดข้อมูล หรือหลักฐานเพื่อใช้ในการประเมินการ

                              ปฏิบัติตามพันธกรณี หรือเป็นการรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่นำาไปสู่ข้อสรุป ตัวชี้วัด
                              ไม่ได้กำาหนดเป้าหมายสิทธิด้านต่างๆ ของรัฐ  เว้นแต่พันธะหน้าที่ตามข้อบทจะ

                              กำาหนดไว้  จึงจำาเป็นต้องได้ข้อมูลที่บ่งถึงสถานะหรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น  ดังนั้น
                              จึงเป็นคนละประเด็นกับการที่จะชี้ว่า ใครเป็นคนทำาละเมิด เช่น การปลอดจากการถูก

                              บังคับให้บุคคลสูญหายโดยกำาลัง  แม้ว่าโดยหลักการการที่มีบุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
                              เพียงคนเดียวถือว่ามีการละเมิดสิทธิ แต่จำาเป็นต้องกำาหนดจำานวนผู้ที่ถูกบังคับสูญหาย

                              เป็นตัวชี้วัด  และต้องเก็บข้อมูลเพื่อการประเมิน เพราะสิ่งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ และเกิด
                              ขึ้นจริงในสังคม

                           •  ตัวชี้วัดผลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำางาน มีข้อมูลในการจัดเก็บหรือข้อมูลอัตรา

                              การประสบอันตรายจากการทำางานของลูกจ้างอยู่แล้ว  และเป็นข้อมูลที่หน่วยงานที่
                              ปฏิบัติก็มีอยู่แล้วสามารถนำามาใช้ได้

                           •  ควรมีการริเริ่มให้มีการนำาข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนมารวมกัน (กำาหนดข้อมูลกลาง
                              ด้านสิทธิมนุษยชน) ขึ้น  มีกระบวนการจัดเก็บ (เช่น สำานักงานสถิติแห่งชาติ)

                              กระบวนการตรวจสอบน่ามีการออกแบบให้สำานักงานสถิติแห่งชาติจัดเก็บข้อมูลที่
                              เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนด้วย

                           •  ควรให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปพิจารณาเรื่องตัวชี้วัดผล  เพราะตัวชี้วัดจะ

                              สะท้อนการปฏิบัติงานตามพันธกรณี

                           •  ตัวชี้วัดเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม หรือความเท่าเทียมทางกฎหมายควร
                              ครอบคลุมในคดีแพ่งด้วย

                           •  การปลอดจากสภาพการเป็นทาส อาจใช้ตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้

                           •  ตัวชี้วัดโครงสร้าง นอกจากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
                              และรัฐธรรมนูญแล้วควรมีกฎหมายภายในด้วย เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84