Page 77 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 77
76
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง ซึ่งสะท้อนในด้านนโยบายและการปฏิบัติ
โดยใช้มาตรการด้านต่างๆ รวมถึงการใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่มีอยู่
- หน้าที่ในการทำาให้เป็นจริง ดูที่ผลลัพธ์ ซึ่งบางทีรัฐมีมาตรการต่างๆ มากมาย
แต่ผลไม่เกิด ถือว่าไม่บรรลุพันธะหน้าที่
• ประเภทตัวชี้วัดมีความสัมพันธ์กับพันธะหน้าที่ สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติ ได้แบ่งตัวชี้วัดเป็นสามประเภท คือ
- หนึ่ง ตัวชี้วัดโครงสร้าง (Structural Indicator) ที่บ่งถึงหน้าที่การเคารพ
หรือเจตจำานงค์ที่จะเคารพ “สิทธิ” คือ การเป็นภาคีข้อตกลงระหว่างประเทศ
และการรับรองสิทธิไว้ในระบบกฎหมายของรัฐ
- สอง ตัวชี้วัดกระบวนการ (Procedural Indicator) เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อน
หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง รัฐจัดให้มีมาตรการต่างๆ เพื่อการปกป้อง
สิทธิของบุคคล ด้านนโยบาย การบริหาร ด้านการสร้างจิตสำานึก อบรม
บุคลากร การเงินงบประมาณ ความร่วมมือระหว่างประเทศ
- สาม ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome Indicator) ผลที่เกิดขึ้นจริงของ
การกระทำาสะท้อนหน้าที่ในการ “ทำาให้เป็นจริง”
• ขั้นตอนดำาเนินการพัฒนาตัวชี้วัด
- ขั้นตอนที่หนึ่ง พิจารณาพันธะหน้าที่ของรัฐ
- ขั้นตอนที่สอง พิจารณาองค์ประกอบที่เป็นสาระแห่งสิทธิ
- ขั้นตอนที่สาม กำาหนดตัวชี้วัดสามประเภท
- ขั้นตอนที่สี่ กำาหนดที่มาของหลักฐาน หรือสร้างกระบวนการรายงาน
(ขั้นตอนที่สี่ไม่ได้ดำาเนินการในการวิจัยครั้งนี้)
• สุดท้าย ตัวชี้วัดจะนำาไปสู่การ “เปลี่ยนมุมมองการจาก “เยียวยาการละเมิด”
เป็น “การป้องกันการละเมิด” หรือเปลี่ยนจากระบบ “รายงานโดยที่มีลักษณะ
เป็นนามธรรมเชิงคุณภาพ และอัตตาวินิจฉัย” มาเป็น “การใช้การรายงานที่เป็นระบบ
มีข้อมูลหลักฐานอ้างอิงที่จัดเก็บโดยเจ้าของข้อมูล และอยู่บนฐานสิทธิ”
• แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ กสม. ต้องออกแบบ “ระบบการรายงาน” “ระบบการจัดเก็บ”
เพื่อประโยชน์ในการประเมิน อาจต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบติดตาม และมีระบบ
การติดตาม เพื่อให้มีการรายงานข้อมูลเกิดขึ้นจริง และต้องมีการ “ทบทวน” ตัวชี้วัด
อย่างสม่ำาเสมอ
หลังจากนั้น นายบุญแทน ตันสุเทพวีระวงษ์ ได้นำาเสนอการจัดทำาตัวชี้วัดของสาธารณรัฐ
ฟิลิปปินส์ ซึ่งสรุปแนวทางได้ ดังนี้
• เป้าหมายในการจัดทำาตัวชี้วัดต้องชัดเจนทั้งการใช้งาน การติดตาม ตรวจสอบ
การพัฒนา