Page 76 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 76
75
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
หลังจากประธานในพิธีกล่าวเปิดการสัมมนาแล้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย ศรีรัตน์ หัวหน้า
คณะผู้ศึกษาการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนได้บรรยายนำาเรื่องเป้าหมาย ลักษณะ และประโยชน์ของ
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีใจความสรุป ดังนี้
• ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน หมายถึง ข้อมูลจำาเพาะเจาะจงที่ได้กำาหนดขึ้น เพื่อแสดงสภาวะ
หรือสถานะของเป้าหมาย เหตุการณ์ กิจกรรม หรือผลลัพธ์ซึ่งสัมพันธ์กับปทัสถาน
หรือมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน ข้อมูลนั้นได้บ่งถึงหรือได้สะท้อนหลักการของ
สิทธิมนุษยชน และปัญหาของการสิทธิมนุษยชน ข้อมูลเหล่านั้นใช้เพื่อประเมิน
ติดตามตรวจสอบ การนำาหลักการและปทัสถานสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้ในประเทศ
หรือโดยองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
• ประโยชน์ของ “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน” เป็นเครื่องมือสอดส่องการดำาเนินงานของ
หน่วยงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับพันธะหน้าที่ในการส่งเสริม ปกป้องคุ้มครองและ
ทำาให้สิทธิมนุษยชนเป็นจริงขึ้น เป็นเครื่องชี้ทางในการกำาหนดนโยบาย แผน และการ
ปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการ และปทัสถานสิทธิมนุษยชน
ช่วยให้มีกรอบในการจัดทำารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศชัดเจนยิ่งขึ้น
• ตัวอย่างการกำาหนดตัวชี้วัด “สิทธิในชีวิต”ประเด็นที่พิจารณา คือ สิทธินี้มีขอบเขต
แค่ไหน พันธะหน้าที่ของรัฐมีอย่างไร มิติต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “สิทธิในชีวิต หรือ
องค์ประกอบที่เป็นสาระแห่งสิทธิ เช่น “ไม่ถูกพรากชีวิตโดยรัฐ” “ไม่ถูกบุคคลอื่น
ฆ่าตาย” “ไม่ถูกทำาให้หายตัวโดยการใช้กำาลังบังคับ” “มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำานวย
ต่อการมีชีวิต”
• ประเภทของข้อมูลที่ใช้ประกอบตัวชี้วัด ข้อมูลที่เป็นตัวเลข สถิติ หรือข้อมูลเชิงคุณภาพ
(หรือข้อมูลเชิงพรรณนา) ที่ใช้เพื่อตอบคำาถาม หรือการประเมิน เช่น สิทธิในชีวิตที่
เกี่ยวกับการไม่ถูกพรากชีวิตโดยรัฐ ข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน คือ จำานวนบุคคลที่
เสียชีวิตในขณะบังคับใช้กฎหมาย จำานวนบุคคลที่ตายในขณะอยู่ในเรือนจำา หรือใน
ห้องขัง ซึ่งเป็นการชี้ถึงการ “พรากชีวิตโดยรัฐ” ส่วนมิติเกี่ยวกับ “การไม่ถูกพรากชีวิต
โดยบุคคลที่สาม” ข้อมูลที่บ่งถึงอาจเป็นข้อมูลที่แสดงจำานวนบุคคลที่ตายจากการ
กระทำาความผิดที่เป็นคดีอาญา สัดส่วนคดีที่เกิดขึ้นกับการดำาเนินคดีผู้กระทำาผิด
และมิติที่เกี่ยวกับ “สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำานวยต่อการมีชีวิต” เช่น จำานวนเด็กทารก
ตายระหว่างแรกเกิดถึงอายุหนึ่งเดือน จำานวนบุคคลที่ตายจากสภาพแวดล้อมมลพิษ
สารเคมีรั่ว จำานวนบุคคลที่ตายจากอุบัติรถชนตาย หรือประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยกี่ปี
เป็นต้น
• ตัวชี้วัดควรสะท้อนพันธะหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ สามประการ คือ
- หน้าที่ในการเคารพ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบการรับรองสิทธินั้นๆ
แสดงว่ารัฐมี “เจตจำานง”