Page 75 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 75
74
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- สาม ผลลัพธ์ (Outcome) สิ่งที่เป็นมรรคผลจากการดำาเนินการต่างๆ
ที่วัดได้จำานวน สัดส่วน และคุณภาพ เช่น จำานวนคนที่ถูกควบคุมตัว
โดยไม่ชอบ โดยไม่มีอำานาจ หรือจำานวนบุคคลที่ศาลสั่งให้ปล่อยตัว
เนื่องจากถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบ
• ควรพิจารณาจัดทำาตัวชี้วัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก่อน ตัวชี้วัดที่จะ
พัฒนาขึ้นต้องสอดคล้องกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และ
ต้องครอบคลุม ครบถ้วน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากลเสียก่อน
ส่วนจะเลือกมาแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ผ่านมาของไทย
• การพัฒนาตัวชี้วัดตามโครงการนี้ควรใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นพื้นฐาน เพราะกติกาทั้งสองฉบับ
แตกมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และทั้งสามฉบับถือว่าเป็น
International Bill of Rights ส่วนตามกติกาและอนุสัญญาอื่นอีกห้าฉบับไว้ทำา
ในระยะที่สอง
• ตัวชี้วัดที่จัดทำาตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อาจยังไม่ต้องลงรายละเอียด
ถึงกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้หญิง เพียงแต่เป็นตัวชี้วัดภาพรวม (ซึ่งกลุ่มเฉพาะ
จะมีการพัฒนามากขึ้นในการทำาระยะที่สอง)
• ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสาระแห่งสิทธิ โดยใช้ตารางสิทธิตามที่
คณะผู้ศึกษาเสนอเพื่อการพิจารณา
๓.๓.๒ สรุปผลการสัมมนาครั้งที่สอง
การสัมมนาครั้งที่สอง วันจันทร์ ที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ๑๔๘ อาคารสัมมนา ๒ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูล
รวม ๓๘ คน จากภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
• ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
จำานวน ๑๙ คน
• ตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน จำานวน ๗ คน
• นักวิชาการ จำานวน ๔ คน
• กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สำานักงาน กสม. จำานวน ๘ คน
การสัมมนาครั้งนี้มีขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องและรับฟัง
ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน โดยคณะผู้ศึกษาเห็นว่า เมื่อมีการใช้
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเป็นกรอบในการประเมิน ติดตามการดำาเนินงานของรัฐแล้ว หน่วยงานของรัฐจะ
ต้องเป็นผู้ได้รับผลโดยตรงจากการใช้ตัวชี้วัด ดังนั้น การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการรับฟังความเห็นของ
ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้มีการพัฒนาร่วมกันของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามกระบวนการการมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาตัวชี้วัด