Page 74 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 74

73


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                     สิทธิมนุษยชน วัตถุประสงค์ ประโยชน์ และหลักการสำาคัญในการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน
                     รวมทั้งได้มีการซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวิทยากร คณะผู้ศึกษา กรรมการ
                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้เข้าร่วมการสัมมนา

                              หลังจากนั้นเป็นการอภิปรายและระดมความคิด  เรื่อง  “กรอบ แนวคิด และปัจจัยในการพัฒนา

                     ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน” ดำาเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย ศรีรัตน์ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชน
                     และสันติศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                              ในช่วงบ่ายเป็นการแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อการอภิปรายและ
                     ระดมความคิดเกี่ยวกับกรอบ แนวคิด และปัจจัยในการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน

                              ประเด็นที่ได้จากการสัมมนามีข้อสรุป ดังนี้

                              •  ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือที่ กสม.ใช้ในการติดตามตรวจสอบและประเมินผล
                                 การปฏิบัติงานด้านการคุ้มครอง การเคารพ และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล
                                 และ กสม.  นอกจากนั้นยังเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนงานและโครงการต่างๆ

                                 ในการดำาเนินงานของ กสม.
                              •  ตัวชี้วัดเป็นกรอบของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มีสภาพที่เอื้อต่อ

                                 เพื่อนมนุษย์ทั้งหมด ตัวชี้วัดทำาให้เกิดการเชื่อมต่อกับมาตรการต่างๆ ของรัฐได้
                                 ในด้านกฎหมายและการนำาไปสู่แผนงานหรือนโยบาย (policy) และการปฏิบัติ
                                 เพื่อให้สิทธิมีขึ้นจริง

                              •  ตัวชี้วัดที่ดีควรจะต้องมีหลักเกณฑ์ คือ มีความเป็นสากล เช่น บนพื้นฐานของ
                                 สนธิสัญญา ตราสาร ประกอบไปกับเกณฑ์เครื่องบ่งชี้หรือที่เป็นตัวชี้วัด การสะท้อน

                                 หลักการไม่เลือกปฏิบัติ และจะต้องมีกลไกที่เกี่ยวข้องดำาเนินการ เช่น สำานักงาน กสม.
                                 สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศาลยุติธรรม
                                 เป็นต้น

                              •  ตัวชี้วัดควรคำานึงถึงความเหมาะสมมีไม่มากเกินไป และมีความง่ายพอสมควร
                                 ในทางวิชาการจะมีหลักเรื่อง SMART Indicators ที่กล่าวถึงตัวชี้วัดที่ดี ดังนี้
                                       -  S  = Strategic (มียุทธศาสตร์)

                                       -  M  = Measurable (การวัดได้)
                                       -  A  = Accessible (การเข้าถึงได้)
                                       -  R   = Realizable (การบังคับใช้ได้ สามารถทำาได้ และทำาให้เป็นจริงได้)

                                       -  T   = Time - bounded (มีกรอบทางเวลา มีกำาหนดระยะเวลาที่แน่นอน)
                              •  การจัดทำาตัวชี้วัดควรพิจารณากรอบที่พัฒนาโดยสหประชาชาติ ซึ่งมีสามส่วน คือ

                                       -  หนึ่ง  โครงสร้างหรือกลไก (Structure) เช่น การเป็นภาคีสนธิสัญญา
                                          สิทธิมนุษยชน มีการรายงานตรงตามระยะเวลา
                                       -  สอง  กระบวนการและวิธีการ (Process) นำาข้อเสนอจากคณะกรรมการ

                                          ประจำาอนุสัญญามาพิจารณาปรับแก้ไข มีกระบวนการการรับคำาร้องเรียน
                                          จำานวนคำาร้องเรียนที่ได้แก้ไขภายในกรอบระยะเวลา
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79