Page 73 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 73
72
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๓.๓ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
(Participation of the Stakeholders)
องค์ประกอบสำาคัญประการหนึ่งในการพัฒนาตัวชี้วัด ก็คือ “การมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่
เกี่ยวข้อง” ๒๐๗ ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการกำาหนดตัวชี้วัด และเพื่อให้ตัวชี้วัดที่
พัฒนาขึ้นมาสามารถนำาไปใช้ได้ และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานและเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
ระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน คณะผู้ศึกษาได้
ร่วมกับสำานักงาน กสม. ได้จัดการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประเด็นต่างๆ เช่น ด้านวิธีการ
พัฒนาตัวชี้วัด สาระแห่งสิทธิ และเกณฑ์ตัวชี้วัด ขึ้นสามครั้ง ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนกันยายน
พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ ๑๔ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และครั้งที่สาม เมื่อวันที่ ๑๐
เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
๓.๓.๑ สรุปผลการสัมมนาครั้งที่หนึ่ง
การสัมมนาครั้งที่หนึ่ง จัดขึ้น ณ โรงแรม ที เค พาเลซ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ในวันอังคารที่ ๑๓ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐–๑๗.๐๐ น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ
กระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัด และรวบรวมข้อมูลจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาตัวชี้วัด
ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาได้กรอบในการจัดทำาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเบื้องต้น รวมถึงได้ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สาระแห่งสิทธิ
(rights attributes) เบื้องต้นที่คณะผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น
การสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม ๓๖ คน (ไม่รวมคณะผู้ศึกษาและวิทยากร) ผู้เข้าร่วมสัมมนา
ประกอบด้วยบุคลากรจากภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
• ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน จำานวน ๑๐ คน
• ตัวแทนจากองค์กรพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนและกลุ่มผู้ทำางานด้านสิทธิมนุษยชน
จำานวน ๑๒ คน
• นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนและการวัดผล จำานวน ๖ คน
• กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่จากสำานักงาน กสม. จำานวน ๘ คน
ในช่วงเช้าของการสัมมนาได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
เครื่องมือในการสร้างมาตรฐานการเคารพ ปกป้องคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน” โดย
ศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์ประจำาคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็น
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ๒๐๘ และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดทำาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน
ให้กับองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เข้าใจลักษณะตัวชี้วัด
๒๐๗ Office of the High Commissioner for Human Rights, supra note 37
๒๐๘ ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ เคยเป็นผู้จัดท�ารายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการค้าเด็ก การบังคับเด็กให้เป็นโสเภณี และสิ่งลามก
อนาจารเกี่ยวกับเด็ก