Page 72 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 72
71
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ตัวอย่างความเห็นเชิงแนะนำาและข้อกังวลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
ประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น
• ประเด็นเรื่องการสนับสนุนสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ มีความกังวลถึงการจัดสรรงบประมาณที่
กสม. ได้รับที่จะสามารถดำาเนินการให้เป็นผลตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อทำาหน้าที่ในการติดตาม
ตรวจสอบการดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชน ๒๐๔ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ได้อ้างหลักการ
ปารีสว่า รัฐภาคีจะต้องทำาให้เกิดความมั่นใจได้ว่า สถาบันสิทธิมนุษยชนจะได้รับการจัดสรรทรัพยากร
อย่างพอเพียง เพื่อที่จะให้กรรมการได้ทำาหน้าที่ต่างๆ ได้ดังที่ได้กำาหนดไว้ในหลักการปารีส ๒๐๕
• ประเด็นเรื่องการปลอดจากการทรมาน การปฏิบัติที่ทารุณโหดร้าย และสิทธิของ
ผู้ต้องขัง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ได้ให้คำาแนะนำาแก่ประเทศไทยเกี่ยวกับ
การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังว่า ผู้ต้องขังจะต้อง “เข้าถึง (access to)” อาหารและการรักษาพยาบาล
ส่วนการใช้ตรวนกับผู้ต้องขังและการขังเดี่ยวโดยไม่ให้ติดต่อกับบุคคลอื่นนั้นควรจะต้อง “ระงับใช้ทันที”
คำาแนะนำาดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานขั้นต่ำาว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ๒๐๖
ข้อสรุป
จากตัวอย่างคำาแนะนำาของรัฐบาลต่างๆ ที่ให้ประเทศไทยรับไปพิจารณา
เพื่อปรับปรุงหรือยกระดับการดำาเนินการเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกระบวนการ UPR
หรือที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมืองได้ตั้งประเด็นคำาถาม และให้คำาเสนอแนะ หรือแสดงความวิตกกังวลตามที่กล่าวมานั้น
เป็นการสะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชนสำาคัญของประเทศไทย จึงจำาเป็นที่จะต้องกำาหนดตัวชี้วัด
เพื่อให้สะท้อนถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น หรือยังมีอยู่นี้
๒๐๔ Human Rights Committee, “Consideration of Reports Submitted by States Parties under Article 40 of the Covenant”,
(UN Doc. CCPR/CO/84/THA, 8 July 2005), para. 9
๒๐๕ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยังได้ห่วงใยเกี่ยวกับทรัพยากร (หรืองบประมาณ) ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับกสม.ดังปรากฏใน
ข้อสรุปเชิงเสนอแนะว่า “The State party should ensure that recommendations of the National Human Rights Commission
are given full and serious follow-up. It should also ensure that the Commission is endowed with sufficient resources
to enable it effectively to discharge all of its mandated activities in accordance with the Principles relating to the status
of national institutions for the promotion and protection of human rights (the Paris Principles) (เส้นใต้เน้นโดยผู้ศึกษา)….”
๒๐๖ Human Rights Committee, “Concluding observations of the Human Rights Committee: Thailand”, (UN Doc. No. CCPR/
CO/84/THA), para 16