Page 70 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 70

69


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                                       •  เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตในความผิดที่ไม่เกี่ยวกับความรุนแรง
                                          (R.89.26 เสนอโดยฮังการี)

                                       •  ให้ประกาศการระงับใช้การประหารชีวิตหรือให้เปลี่ยนแปลงโทษประหาร
                                          ชีวิตเป็นโทษที่เบากว่า  เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้เขียนไว้ในแผนสิทธิมนุษยชน
                                          แห่งชาติ (R.89.27-8932)

                                       •  ให้มีกฎหมายให้อำานาจแก่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อความ

                                          ปรองดองแห่งชาติ (The Truth for Reconciliation Commission of
                                          Thailand) ในการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานรัฐและเอกชน รวมถึง
                                          การเรียกพยานมาให้ปากคำา (R.89.45)

                                       •  เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และพิธีสาร

                                          ของอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๗ (R.89.70)

                              ๓.๒.๑.๒  ประเด็นปัญห�และก�รขอข้อมูลเพิ่มเติมในก�รร�ยง�นก�รปฏิบัติต�ม

                                       กติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิท�งก�รเมือง
                                       ประเด็นคำาถาม (List of Issues) ในกระบวนการพิจารณารายงานตามกติกา

                     ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คือ ประเด็นของคำาถาม หรือการขอข้อมูล
                     เพิ่มเติมที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ

                     ทางการเมือง ขอจากรัฐภาคีที่เสนอรายงานในกรณีที่รัฐให้ข้อมูลในรายงานไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ
                     ของคณะกรรมการฯ ดังนั้นประเด็นคำาถามจึงเป็นข้อมูลที่สำาคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณา
                     กำาหนดเป็นตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนได้  เช่น ในการเสนอรายงานตามพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศ

                     ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Initial Report) ของประเทศไทย  ๑๙๖  มีประเด็นคำาถาม
                     ที่ครอบคลุมข้อบทต่างๆ ของกติกาฯ หลายๆ ประเด็น ตัวอย่างประเด็นคำาถาม เช่น

                                       ประเด็นเรื่องความมีผลของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ

                     ทางการเมือง ที่จะกล่าวอ้างสิทธิให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายภายในประเทศ
                                       •  ให้ยกกรณีตัวอย่างที่แสดงว่าบุคคลสามารถยกสิทธิตามข้อบทในกติกา

                                          ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ขึ้นกล่าวอ้าง
                                          ในศาลได้  ๑๙๗
                                       •  จำานวนคำาร้องเรียนต่อ กสม. ว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และจำานวนคำาร้อง

                                          ที่มีการตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งผลของการตรวจสอบ  ๑๙๘







                     ๑๙๖   Human Rights Committee, “List of issues to be taken up in connection with the consideration of the initial report of
                         THAILAND, (CCPR/C/THA/2004)”, (UN Doc No. CCPR/C/84/LTHA), 28 April 2005
                     ๑๙๗   Ibid. para. 1
                     ๑๙๘   ibid. para. 3
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75