Page 69 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 69
68
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
รายงานการปฏิบัติตามสนธิสัญญา และรายงานคู่ขนาน (Alternative Reports) เป็น
เครื่องมือที่มีความสำาคัญต่อการสร้างรากฐานของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม สร้างแรงกดดัน
ทางการเมืองเพื่อให้เกิดการปฏิรูปผ่านกระบวนการจัดทำารายงานคู่ขนาน รวมทั้งการรณรงค์เพื่อสร้าง
ความตระหนักต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและนโยบาย
ที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ในการกำาหนดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับปัญหา
เฉพาะของประเทศไทย จึงจำาเป็นที่จะต้องพิจารณารายงานตามกระบวนการปฏิบัติตามสนธิสัญญา
ที่รัฐบาลเสนอต่อองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอแนะหรือประเด็นห่วงใยที่
คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องได้เสนอต่อรัฐบาลไทย
รายงานที่จะต้องพิจารณาตามข้อกำาหนดของโครงการนี้จึงเกี่ยวข้องกับรายงานตาม UPR
และรายงานตามสนธิสัญญาสองฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี
นอกจากรายงานตามกระบวนการ UPR ซึ่งประเทศไทยได้เสนอรายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ แล้ว ประเทศไทยได้เคยเสนอรายงานตามสนธิสัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
(Human Rights Committee) และคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ทั้งสองคณะเพียงฉบับเดียว คือ รายงานเบื้องต้น (Initial Report) ซึ่งเสนอต่อคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชน ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ดังนั้น
คณะผู้ศึกษาจึงใช้รายงานฉบับนี้เป็นแหล่งข้อมูลในการพิจารณา
๓.๒.๑.๑ ข้อเสนอแนะต�มกระบวนก�รก�รประเมินสถ�นก�รณ์ทั่วไปของ
สิทธิมนุษยชนต�มว�ระ (UPR)
กระบวนการการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของสิทธิมนุษยชนตามวาระ
(กระบวนการ UPR) เป็นกระบวนการพิจารณาสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศ โดยรัฐ
ภาคีของสหประชาชาติ ๑๙๔
ในกรณีของประเทศไทย รัฐบาลไทยได้เสนอรายงาน UPR ครั้งแรก เมื่อเดือน
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และได้นำาเสนอรายงานด้วยวาจาต่อคณะทำางานว่าด้วย UPR (Working Group
on UPR) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หลังจากนั้นคณะทำางานฯ ได้จัดทำาประเด็นพร้อมด้วยข้อมูล
ที่ได้รับจากรายงานคู่ขนาน (Alternative Reports) ของ กสม. และภาคประชาสังคม ต่อมาคณะมนตรี
สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) ได้พิจารณารายงานของประเทศไทย
เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ พร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศไทย จำานวน ๑๗๒ ข้อ ๑๙๕
ซึ่งรัฐบาลไทยได้ตอบรับ จำานวน ๑๓๔ ข้อ และไม่รับ จำานวน ๓๘ ข้อ เช่น
๑๙๔ Office of the High Commissioner for Human Rights, “Basic Fact about UPR” Supra note. No. 6
๑๙๕ Office of the High Commissioner for Human Rights, “Universal Periodic Review – Thailand”, [online] Available at http://
www.ohchr.org/EN/HRBodies/UPR/PAGES/THSession12.aspx, (10 October 2012).