Page 67 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 67

66


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                              ๓.๒  การกำาหนดข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณี
                                         ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย



                         การศึกษาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศจะช่วยให้เข้าใจปัญหาสิทธิมนุษยชน
                  ที่จำาเพาะเจาะจงของประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยเน้นความสำาคัญในการให้น้ำาหนักกับตัวชี้วัดเกี่ยวกับ
                  สิทธิด้านนั้น


                         คณะผู้ศึกษาได้ใช้ “รายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย”
                  ที่รัฐบาลได้จัดทำาขึ้นเพื่อเสนอต่อองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน

                           •  รายงานตามกระบวนการการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของสิทธิมนุษยชนตามวาระ (UPR)

                           •  รายงานการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                              (ICCPR Initial Report)

                         รายงานอื่นๆ

                         เพื่อให้ได้ตัวชี้วัดที่สะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชนเฉพาะของประเทศไทย  คณะผู้ศึกษายังได้ใช้
                  ข้อมูลจากรายงานเหล่านี้ประกอบ

                           •  รายงานคู่ขนาน (Alternative Report) ที่จัดทำาโดย กสม. ที่เสนอต่อคณะมนตรี
                              สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาฉบับต่างๆ

                              รวมทั้ง รายงานจากภาคประชาสังคมที่เสนอต่อกลไกระหว่างประเทศดังกล่าว เพื่อเป็น
                              ข้อมูลพื้นฐานในการศึกษา

                           •  รายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ จัดทำาโดย
                              กสม. จำานวนสามฉบับ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๕๒  ๑๙๒

                           •  รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายประเทศของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
                              (US Department of States)

                           •  รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายประเทศของกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพ
                              สหราชอาณาจักร (Foreign and Commonwealth Office, UK)


                         คณะผู้ศึกษายังได้ใช้ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำาปี  ขององค์การพัฒนาเอกชน
                  ระหว่างประเทศ (Non-governmental Organisations) สององค์กร คือ Amnesty International

                  และ Human Rights Watch ซึ่งได้มีการวิเคราะห์ปัญหาการดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
                  โดยรายงานเหล่านี้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ทุกปี  ๑๙๓





                  ๑๙๒   รายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๖ เผยแพร่ พ.ศ.๒๕๔๙; รายงานการประเมินสถานการณ์
                      ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยปี พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๐ เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๒; รายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                      ในประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๒ เผยแพร่ พ.ศ.๒๕๕๕
                  ๑๙๓   รายงานเหล่านี้สามารถหาได้จากเว็บไซต์ ต่อไปนี้ US Department of States, UK Foreign and Commonwealth Office,
                      Amnesty International, Human Rights Watch
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72