Page 99 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 99
ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคง
ทางสังคม
ทั้งนี้ การคุ้มครองสิทธิและมนุษยชนของรัฐสมาชิกเป็นปัจจัยที่สำาคัญประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อ
ความร่วมมือในประชาคมอาเซียน ด้วยการตระหนักถึงความสำาคัญดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้ง
“คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยมนุษยชน-ไอซาร์” (ASEAN Inter-governmental
Commission on Human Rights - AICHR) ในการประชุมสุดยอดผู้นาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ครั้งที่ ๑๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามมาตรา ๑๔ ของกฎบัตรอาเซียน
ไอซาร์ (ASEAN Inter-governmental Commission on Human Rights-AICHR) มีภารกิจใน
การพัฒนาร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นก้าวสำาคัญของอาเซียนในการสร้างมาตรฐาน
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค โดยจะมีการจัดทำาร่างเสนอต่อคณะกรรมาธิการระหว่าง
รัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
นอกจากนี้ ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น หลายประเทศได้มีการ
ดำาเนินการหรือมีกฎหมายภายในที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ เป็นที่
เรียบร้อยแล้ว หรืออยู่ระหว่างดำาเนินการ เช่น ประเทศมาเลเซียซึ่งอยู่ในขั้นการอนุวัติกฎหมายภายใน
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างมาเลเซียกับออสเตรเลีย
นอกจากนี้ ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศต่างๆ รวม ๓๒ ประเทศในภาคพื้นเอเชีย
แปซิฟิคได้ทำาความตกลงที่จะร่วมมือกันทำางานต่อต้านการค้ามนุษย์ และร่วมรับผิดชอบในปัญหาเกี่ยวกับ
ผู้ลี้ภัยผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศด้วย ความตกลงครั้งนี้มีขึ้นในการประชุมที่บาหลีใน
อินโดนีเซีย โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ทำาข้อเสนอและผลักดันให้มีข้อตกลงในเรื่องนี้ ทั้ง ๓๒ ประเทศ
เห็นด้วยกับข้อเสนอของออสเตรเลียที่อยากให้ทั้งภูมิภาคร่วมกันพิจารณาและแก้ไขปัญหาที่ว่านี้ การ
ประชุมที่บาหลีเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศต่างๆ ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ในเรื่องการ
ลักลอบพาคนเข้าออกประเทศ การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง โดยกรอบความ
ร่วมมือที่ออกมาจากการประชุมที่บาหลี ให้แนวทางสำาหรับการจัดการกับผู้ลักลอบพาคนเข้าออกประเทศ
ผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยผิดกฎหมาย และผู้ถูกนำาตัวไปค้าขาย โดยมีหลักการว่าจะต้องปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ในลักษณะ
ที่ส่งเสริมศักดิ์ศรีและชีวิตมนุษย์ รวมทั้งการรับภาระร่วมกันระหว่างประเทศ
ประเทศไทยมีความจำาเป็นที่จะต้องจัดเตรียมความพร้อมต่อการก่อตั้งประชาคมอาเซียนใน
พ.ศ. ๒๕๕๘ ในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคม ประเทศไทยควรเล็งเห็นความสำาคัญของหลักสิทธิมนุษยชน
และตระหนักว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความมั่นคงภายในของประเทศสมาชิก
และยังเป็นหลักประกันการไหลเวียนของทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มประเทศสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้ง เป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้ประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีความมั่นคง
ทางสังคม
ประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ประเทศไทยต้องให้ความสำาคัญ
พิจารณาสร้างกรอบและมาตรฐาน และการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑
สามารถช่วยทำาหน้าที่ดังกล่าวได้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒