Page 96 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 96

ในด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับพม่ามีทั้งรูปแบบการค้าปกติและการค้าชายแดน โดยฝ่าย
                  ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด  และมูลค่าการค้ามีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  แต่ในปี ๒๕๔๔ ไทย

                  เสียเปรียบดุลการค้าต่อพม่าเนื่องจากการชำาระค่าก๊าซธรรมชาติที่ไทยได้ซื้อจากพม่า ไทยกับพม่ามีความ

                  ตกลงการค้าระหว่างกัน ๓ ฉบับ ได้แก่ ความตกลงทางการค้าไทย - พม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน
                  พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่ กรุงย่างกุ้ง) บันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย - พม่า (ลงนาม
                  เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ ที่ กรุงเทพฯ) และความตกลงการค้าชายแดน (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๗

                  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่ กรุงย่างกุ้ง)

                         การที่ระบบเศรษฐกิจของพม่าเป็นระบบที่ควบคุมโดยรัฐบาลอย่างเข้มงวด กอปรกับการที่รัฐบาล
                  ทหารพม่ามักเชื่อมโยงปัญหาทางการเมืองภายในพม่ากับการดำาเนินความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ  รวมทั้งความ
                  สัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ทำาให้ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่ามักได้รับผลกระทบ

                  อาทิ ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนโดยไม่คำานึงผลกระทบ

                  และความตกลงที่มีอยู่ การปิดชายแดน และการยกเลิกสัมปทานประมง ซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น
                  ที่ได้รับผลกระทบ  แต่นักธุรกิจประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่มีพรมแดนติดกับพม่า อาทิ จีน ก็ประสบปัญหา
                  ในลักษณะเช่นนี้ด้วย

                         ความสัมพันธ์ทางสังคม วัฒนธรรม และความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าได้ลงนามความตกลง

                  ทางวัฒนธรรมไทย - พม่า เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยกำาหนดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน
                  ระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งคณะนาฏศิลป์ของทั้งสองฝ่าย  และให้ความร่วมมือในการ
                  บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า  นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้อัญเชิญ

                  ผ้าพระกฐินพระราชทานจากประเทศไทยไปถวายที่วัดพุทธในพม่าทุกปี นับตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นมา
                         นอกจากนี้  ไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าใน ๓ สาขา คือ การเกษตร การศึกษา และ

                  สาธารณสุข  รวมทั้งให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ปศุสัตว์และการประมง  การคมนาคม
                  การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย

                         โดยภาพรวมจึงอาจสรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในยุคปัจจุบันอยู่ในภาวะปกติ  ไม่มี
                  ความขัดแย้งใดๆ ที่เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายหนักใจ  อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภูมิประเทศบริเวณพรมแดน

                  ไทย - พม่า  ส่วนใหญ่เป็นถิ่นทุรกันดารอยู่ห่างไกลจากการควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย จึงเป็น
                  ชัยภูมิที่เหมาะสมกับพวกชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เข้ามาอยู่อาศัย  ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวได้มีบางส่วนเข้ามา

                  อาศัยอยู่ในเขตแดนไทย  นอกจากนี้ ในส่วนที่อยู่ในเขตพม่าเมื่อถูกทหารรัฐบาลทหารพม่าปราบปราม
                  ก็หนีเล็ดลอดเข้ามาในเขตของไทย บางกลุ่มลักลอบค้ายาเสพติดและสินค้าหนีภาษี  พฤติกรรมดังกล่าว

                  ทำาให้พม่าเกิดความคลางแคลงใจว่า  ฝ่ายไทยให้การสนับสนุนและให้ที่พักพิงแก่ชนกลุ่มน้อยในพม่า
                  ปัญหาผู้พลัดถิ่นและผู้หลบหนีเข้าเมือง มีชาวพม่าที่อพยพหลบภัยเข้ามาในเขตไทย แบ่งออกเป็นผู้ที่

                  เข้ามาก่อน พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งทางไทยถือว่า เป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ส่วนที่เข้ามาหลังจากนั้น ถือว่าเป็น
                  ผู้หลบหนีเข้าเมือง ประเทศไทยมีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยและผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ให้ผลักดันออกจาก

                  เขตแดนไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา  แต่ก็ได้ผ่อนผันตามหลักมนุษยธรรม ให้พักพิงอยู่ในเขตแดน



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101