Page 102 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 102

่
                             โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือตำาช้า  ไม่ว่าจะด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การขับไล่หรือหลักการ
                             ไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย  ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงต้องเคารพต่อหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัย

                             กลับไปสู่อันตราย และกำาหนดให้มีการพิจารณาตรวจ สอบความปลอดภัยในประเทศต้นทาง

                             เพื่อให้เป็นการเคารพและปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว
                         (๒)  การรับรองว่า  บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมายและได้รับการคุ้มครองอย่าง

                             เท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ  ในกรณีนี้ กฎหมายจะต้องห้ามการเลือก
                             ปฏิบัติใดๆ และต้องประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจัง

                             จากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทาง
                             การเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำาเนิด หรือสถานะ

                             อื่นๆ (ข้อ ๒๖)

                         (๓)  เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยมาตรการต่างๆ ที่จำาเป็นต่อสถานะของผู้เยาว์
                             จากครอบครัวของตน สังคม และรัฐ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจาก เชื้อชาติ

                             ผิว เพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือสังคม ทรัพย์สิน หรือกำาเนิด (ข้อ ๒๕ (๑))
                             เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนทันทีภายหลังการเกิด และต้องมีชื่อ (ข้อ ๒๔ (๒))

                             เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งสัญชาติ (ข้อ ๒๔ (๓))

                         นอกจากมีหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                  ทางการเมืองแล้ว  ประเทศไทยยังมีหน้าที่ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  ดังนั้น ในขั้นตอนการดำาเนินการ

                  ทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็กผู้ลี้ภัย  ประเทศไทยต้องใช้ขั้นตอนและแนวทางการคำานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
                  ของเด็ก และเปิดโอกาสให้เด็กผู้ลี้ภัยได้เข้าถึงระบบการปกป้องและคุ้มครองเด็กที่มีอยู่ในปัจจุบัน

                         นอกจากการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยในระหว่างที่ขอลี้ภัยการสู้รบอยู่ในประเทศไทยแล้ว
                  ประเทศไทยยังสามารถดำาเนินการแก้ไขปัญหาในระยะยาวในการป้องกันมิให้เกิดการอพยพของผู้ลี้ภัย

                  จากพม่าเข้ามาประเทศไทยโดยการใช้กลไกประชาคมอาเซียน เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ
                  ส่งเสริมการพัฒนาการทางการเมืองและสันติภาพในพม่า  อันเป็นแนวทางแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยตามแนว

                  ชายแดนไทย - พม่า อย่างยั่งยืน
























         


        ข้อเสนอแนะเ
        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒ชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107