Page 97 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 97

ไทยได้เป็นการชั่วคราว โดยอยู่ในความควบคุม เพื่อรอการผลักดันออกไป  แต่ถ้าเป็นชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ
                     และผู้หลบหนีเข้าเมือง จะทำาการผลักดันทันที  นอกจากนั้น ไทยยังได้จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน

                     ไทย - พม่า อีกด้วย

                            ปัญหาความขัดแย้งภายในพม่าไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของพม่าและชนกลุ่มน้อย ไม่ใช่เป็นปัญหา
                     ภายในที่เราในฐานะคนนอกหรือประเทศเพื่อนบ้านไม่ควรยุ่งเกี่ยว เพราะปัญหาของพม่าเป็นปัญหาของ
                     ประเทศไทยด้วยเช่นกัน  ปัญหาความขัดแย้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการค้าตามแนวชายแดน การสู้รบ

                     ที่รุนแรงภายหลังการเลือกตั้งในพม่าเมื่อปลายปี ๒๕๕๓  ทำาให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ ๒๐ ปี

                     โดยมีชนกลุ่มน้อยตามบริเวณชายแดนอพยพเข้าประเทศไทยในเขตพื้นที่จังหวัดตาก ติดกับจังหวัดเมียวดี
                     ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน ซึ่งประเทศไทย
                     ได้เข้าไปดูแลผู้ลี้ภัยโดยจัดที่พักพิงชั่วคราว จัดหาอาหาร และดูแลสุขภาพอนามัยให้แก่ผู้ลี้ภัยนั้นเป็น

                     นโยบายที่ดีที่พึงปฏิบัติต่อประเทศเพื่อนบ้าน  แต่ขณะเดียวกัน ประเทศไทยควรจะสรุปบทเรียนการส่ง

                     ผู้ลี้ภัยสงครามกลับไปยังบ้านเกิดของตน ภายใต้หลักการของการส่งกลับที่ไม่เป็นการกดดันให้ไปเผชิญกับ
                     ภัยอันตรายด้วยเช่นกัน




                     ข้อดีและข้อเสียของการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑


                             ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้วงล้อมของประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาความขัดแย้งภายในสูงจน
                     เกิดภาวะสงคราม  นับตั้งแต่สมัยสงครามอินโดจีนเมื่อ  ๓๐  กว่าปีที่ผ่านมา  และความขัดแย้งภายในพม่าใน
                     ปัจจุบัน ซึ่งทำาให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านอพยพลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้น ได้มีเสียงเรียกร้อง

                     จากนานาชาติให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย  ค.ศ.๑๙๕๑  เพื่อให้การบริหาร

                     จัดการเรื่องผู้ลี้ภัยมีความเป็นสากลมากขึ้น จึงควรทำาการวิเคราะห์ว่า การเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าว
                     ก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อประเทศไทยอย่างไร


                            ข้อดีของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑


                            ๑.  เป็นกรอบในการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย
                                เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยทำาให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักของผู้ลี้ภัย

                     จำานวนมากในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา แม้ทางรัฐบาลไทยจะได้ดำาเนิน
                     การแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง  แต่การแก้ไขปัญหายังขาดวิธีการจัดการอย่างเป็นระบบและยังคงมี

                     ปัญหาอุปสรรคในการดำาเนินการอีกหลายประการ อาทิ ปัญหาในเรื่องกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ไม่
                     สอดคล้องกับข้อเท็จจริง  รวมถึงปัญหาในเรื่องทัศนคติของเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน จึงจำาเป็นที่ทุกฝ่ายต้อง

                     ร่วมกันพิจารณากำาหนดแนวทางดำาเนินงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
                                ประเทศไทยจึงจำาเป็นที่จะต้องมีกรอบทางกฎหมายเพื่อบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และเป็นหลัก

                     ประกันให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานโดยสุจริต ให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงานและลดโอกาสใน



                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102