Page 95 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 95

(๓)  คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission – JC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                                ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในภาพรวม จัดตั้งเมื่อ

                                มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖

                            (๔)  คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee – JBC) รัฐมนตรีช่วย
                                ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อสำารวจ ปักปัน และ
                                แก้ปัญหาเขตแดนร่วมกัน จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒

                            ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปในลักษณะคล้ายกับลิ้นกับฟันที่มีการกระทบกระทั่ง

                     กันบ้าง เช่น เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่า เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๒ จนกระทั่งถึงการปะทะกันตามแนว
                     ชายแดน และการทำาสงครามจิตวิทยาโจมตีซึ่งกันและกันอย่างรุนแรง ในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๔  ส่งผลให้
                                                                         ่
                     บรรยากาศความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในสภาวะตึงเครียด และตกตำาถึงขีดสุดเมื่อรัฐบาลทหารพม่าตีพิมพ์
                     บทความจาบจ้วงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ซึ่งพัฒนาการความขัดแย้งดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกระแส

                     ชาตินิยมและ ความรู้สึกต่อต้านพม่าอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนไทย
                            การเดินทางเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นจุดเปลี่ยนสำาคัญ

                     ที่นำาไปสู่การรื้อฟื้นการดำาเนินความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยกับพม่า การเยือนดังกล่าวเปรียบ
                     เสมือนการไขประตูไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาที่คั่งค้าง รวมทั้งการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในประเด็น

                     ปัญหาเร่งด่วนระหว่างกัน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย รวมทั้งปัญหาผู้หลบหนี
                     ภัยการสู้รบ  นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วนส่งผลให้

                     บรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าโดยรวมกลับคืนสู่สภาวะปรกติอีกครั้ง  โดยในช่วงที่ผ่านมา
                     มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงหลายครั้ง ได้แก่ นายกรัฐมนตรีเยือนพม่า (๑๙ - ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.

                     ๒๕๔๔)  พลโทขิ่น ยุ้น เยือนไทย (๓ - ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                     เยือนพม่า (๑ - ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างพม่าเยือนไทย (๒๒ - ๒๓

                     มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔) และการพบปะกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรี
                     ว่าการกระทรวงคมนาคมกับพลโทขิ่น ยุ้น ที่เมืองท่าขี้เหล็กและอำาเภอแม่สาย เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.

                     ๒๕๔๔
                            โดยภาพรวม  พม่ามีท่าทีตอบสนองการดำาเนินนโยบายของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นที่

                     กำาลังส่งผลกระทบในทางลบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของพม่าเอง อาทิ ปัญหายาเสพติด
                     ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ  อย่างไรก็ดี เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น

                     ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจด้อยกว่าไทย  พม่ายังคงมีความหวาดระแวงต่อการดำาเนินนโยบายต่างๆ ของ
                     ไทยอยู่  โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือ  รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการค้าการลงทุนของไทย นอกจากนี้

                     พม่ายังคงปกป้องความเปราะบางของสถาบันการเมืองของตนจากแนวคิดเสรีนิยมจากไทย  พม่ามีท่าที
                     ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงต่อบทบาทของไทยในกระบวนการพัฒนาการเมืองภายในของพม่า ไม่ว่าจะภายใต้

                     บริบทใด





                                                                                                           


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100