Page 101 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 101

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีหน้าที่ในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยตามหลักลิทธิมนุษยชน เนื่องจาก
                     ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ จึงมีพันธกรณี

                     ตามสนธิสัญญาต่างๆ ที่เข้าเป็นภาคี เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                     กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
                     ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  ตลอดจนอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการจัดการ
                     เลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ฯลฯ เป็นต้น  ผู้ลี้ภัยจึงมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามสถานะเฉพาะ

                     ของตน ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะเด็กและสตรี

                            กติการะหว่างประเทศที่ได้กล่าวถึงสิทธิของมนุษย์แต่ละคนไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุม
                     มากที่สุดฉบับหนึ่ง คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่กล่าวถึงสาระ
                     ของสิทธิในส่วนที่เป็นการปฏิบัติต่อผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพอย่างมีมนุษยธรรม  การห้ามบุคคลถูกจำาคุกด้วย

                     เหตุที่ไม่สามารถชำาระหนี้ตามสัญญาได้  ความเสมอภาคของบุคคลภายใต้กฎหมาย  การห้ามมิให้มีการ

                     บังคับใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง  สิทธิการได้รับรองเป็นบุคคลตามกฎหมาย  การห้ามแทรกแซงความ
                     เป็นส่วนตัว เป็นต้น
                            โดยรัฐสมาชิกของกติกาฉบับดังกล่าวได้รับรองว่าจะ “เคารพและประกันสิทธิของบุคคล ห้าม

                     การเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง

                     สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกำาเนิด หรือสภาพอื่นใด”  อีกทั้ง คณะกรรมาการสิทธิมนุษยชน
                                                                    ้
                     แห่งสหประชาชาติได้กล่าวในความเห็นทั่วไป ที่ ๑๕  เน้นยำาเรื่องการปฏิบัติของรัฐภาคีต่อคนต่างด้าวว่า
                     ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองว่า  “รัฐภาคแต่ละรัฐแห่งกติกานี้

                     จะต้องประกันแก่ปัจเจกชนทั้งปวงภายในดินแดนของตน  และภายใต้เขตอำานาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่
                     ได้รับการรับรองในกติกานี้  โดยทั่วไปแล้ว สิทธิต่างๆ ซึ่งได้รับการรับรองตามกติกานี้จะต้องนำามาใช้กับ

                     บุคคลทั้งปวง โดยมิต้องคำานึงถึงการต่างตอบแทน สัญชาติ หรือการไร้สัญชาติของบุคคลนั้น”
                            ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ

                     ทางการเมือง จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพและประกันสิทธิของผู้ลี้ภัยที่ได้รับการรับรองไว้ในกติกาฉบับนี้
                     โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทาง เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทาง

                     การเมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกำาเนิด หรือสภาพอื่นใด อาทิ
                            (๑)  สิทธิในการมีชีวิตอยู่ และเสรีภาพจากการถูกทรมาน  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ

                                พลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กำาเนิด สิทธินี้
                                ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย  บุคคลจะต้องไม่ถูกทำาให้เสียชีวิตโดยอำาเภอใจ..”

                                และ “บุคคลจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือ
                                ต่ำาช้ามิได้”

                                โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ตีความมาตรา ๗ ในความเห็นทั่วไป

                                ที่ ๒๐  ระบุว่า ความหมายของมาตรานี้ยังได้ห้ามรัฐภาคีในการส่งบุคคลไปยังประเทศอื่น
                                ซึ่งบุคคลนั้นได้รับอันตรายจากการถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ  หรือการลงโทษที่



                                                                                                           


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106