Page 94 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 94
นางฮิลลารี คลินตัน ประกาศดังกล่าว สหภาพยุโรปก็ประกาศว่าจะดำาเนินนโยบายในลักษณะเดียวกับ
สหรัฐอเมริกา
ท่าทีของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปดังกล่าวจะทำาให้พม่าได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก
มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองและการพัฒนาเศรษฐกิจในพม่ามีแนวโน้มในทางดีขึ้น ประกอบ
กับการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของพม่าที่มีภูมิหลังเป็นอดีตนักการทูตประจำาประเทศไทย
และเคยเป็นนักการทูตประจำาอยู่ที่สหประชาชาติ น่าจะทำาให้พม่ามีพัฒนาการในด้านการคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชนดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องให้ความสำาคัญควบคู่กันไป คือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ให้
ประโยชน์กับประชาชนในพม่าอย่างแท้จริงหรือไม่ เป็นแนวโน้มของสถานการณ์ที่ต้องมีการติดตาม
อย่างใกล้ชิดต่อไป
เอริกา เฟลเลอร์ เจ้าหน้าที่ด้านการคุ้มครองระดับสูงสุดในหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ
แสดงความเห็นว่า การหาทางออกให้สถานการณ์ผู้ลี้ภัยระยะยาวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และมีโอกาสมากมาย
ที่ไม่เคยมีมาก่อน..... พม่ามีรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญต่อชุมชนนานาชาติตั้งแต่
เข้ารับตำาแหน่งที่สำาคัญ มากไปกว่านั้น คือ ต่อประชาชนในชาติ มีสัญญาณในเชิงบวกหลายประการที่
แสดงให้เห็นว่าหลายสิ่งในพม่าเปลี่ยนไป แต่การเปลี่ยนแปลงในพม่ายังคงเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองอย่าง
ใกล้ชิดว่าจะนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันยั่งยืน ซึ่งทำาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิทธิเสรีภาพหรือไม่
หรือเป็นเพียงความต้องการในการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเข้าไปลงทุนในพม่ามากขึ้นเท่านั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในปัจจุบัน
ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับพม่า เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ในด้านภูมิศาสตร์
ไทยกับพม่ามีความใกล้ชิดกันมาก ไทยมีพื้นที่ติดต่อกับรัฐฉาน รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ และมณฑล
ตะนาวศรี โดยติดกับ ๑๐ จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี
เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง มีพรมแดนร่วมกันยาว ๒,๔๐๑ กิโลเมตร
ปัจจุบันประเทศไทยมีการติดต่อกับพม่าได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น ทั้งในระดับทวิภาคี เช่น
การติดต่อค้าขายตามแนวชายแดน มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ คณะกรรมการทางการทหาร
ในระดับพหุภาคีไทย และพม่าต่างเป็นสมาชิกอาเซียน กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับพม่า
ประกอบด้วย
(๑) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee – RBC) แม่ทัพภาค
ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความสงบ
เรียบร้อยบริเวณชายแดนร่วมกันจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒
(๒) คณะกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Commission – JTC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือ
ทางการค้าระหว่างกันจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒