Page 104 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 104

กฎหมายโดยยึดหลักการพื้นฐานในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด เพื่อคงไว้ซึ่งการเคารพ
                             หลักการไม่ผลักดันกลับไปสู่อันตราย

                         ๙.  ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไกความสัมพันธ์แบบทวิภาคีกับพม่าหลายกลไก คือ คณะกรรมการ

                             ชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional  Border  Committee – RBC)    คณะกรรมการการค้าร่วม
                             (Joint Trade Commission – JTC)  คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission – JC)
                             และคณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee – JBC)  โดยกลไกเหล่านี้

                             มีตัวแทนฝ่ายรัฐเข้าไปเป็นคณะกรรมการ แต่ยังขาดกลไกในการดูแลปัญหาผู้ลี้ภัยจาก

                             ชายแดน  จึงควรมีคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง คือ คณะกรรมการสถานภาพผู้ลี้ภัยจาก
                             การสู้รบประจำาจังหวัด (PAB) ให้มีบทบาทหน้าที่ในการติดตามและประเมินสถานการณ์
                             ตามแนวชายแดน  รวมทั้งสำาหรับผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้ามาใหม่ควรได้รับการพิจารณาคัดกรอง

                             จากคณะกรรมการชุดนี้  ควรเปิดให้องค์กรภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย

                             เป็นคณะกรรมการด้วย
                         ๑๐.  รัฐบาลควรเพิ่มข้อพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ จากเดิมที่รัฐจะรับ
                             ให้ความช่วยเหลือเฉพาะผู้ลี้ภัยความตายที่หนีภัยจากการสู้รบที่เป็นภัยถึงแก่ชีวิตโดยตรง

                             อันเนื่องมาจากสงครามเท่านั้น ซึ่งควรเพิ่มการพิจารณารวมไปถึงผู้ที่หนีภัยความตายใน

                             รูปแบบอื่นด้วย เช่น ภัยจากการถูกบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งการคุกคามดังกล่าวนำาไปสู่การ
                             ทารุณร่างกายและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง   สมควรได้รับการคุ้มครองดูแล
                             เฉกเช่นเดียวกันผู้ลี้ภัยการสู้รบด้วย เนื่องจากเป็นภัยที่เป็นอันตรายถึงชีวิตเช่นกัน

                         ๑๑.  รัฐบาลควรมีบทบาทในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยการ
                             สู้รบเชื้อชาติต่างๆ ที่เข้ามาในประเทศไทยทั้งในส่วนของพื้นที่พักพิงชั่วคราว ๙ แห่งและ

                             ผู้ลี้ภัยการสู้รบที่อยู่นอกพื้นที่พักพิงชั่วคราว ที่ใช้ชีวิตร่วมสังคมเดียวกันกับประชาชนไทย
                             เพื่อความเข้าใจอันดีของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่งหากกลไกลของสังคม เช่น นักวิชาการ

                             สื่อมวลชน  ภาคธุรกิจ  และประชาชนมีความเข้าใจที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงแล้ว
                             ย่อมจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำาให้รัฐบาลวางนโยบายที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

                         ๑๒.  สภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง ควรกำาหนดแนวทางแก่เจ้าหน้าที่
                             ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒  ในทางที่จะเคารพหลักการไม่ผลักดันชาวพม่า

                             ที่ลี้ภัยการสู้รบกลับไปเผชิญกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น


















        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109