Page 103 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 103
ข้อเสนอแนะต่อท่าทีที่เหมาะสมของประเทศไทย
จากการศึกษาวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม การจัดสนทนากลุ่ม การประชุมร่วมกับหน่วยงาน
ของรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านผู้ลี้ภัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อท่าทีที่เหมาะสมของประเทศไทย ดังนี้
๑. ประเทศไทยควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และควร
บัญญัติกฎหมายภายในว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย ซึ่งจะทำาให้ประเทศไทยมีกรอบที่ชัดเจนในการ
ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนต่อผู้ลี้ภัย และเป็นไปตามข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับ
หลังจากการนำาเสนอรายงานประเทศต่อที่ประชุมคณะทำางาน Universal Periodic Review
(UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
๒. ประเทศไทยควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สอดคล้องกับ
สิทธิในการขอลี้ภัยและหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย
๓. นโยบายการส่งบุคคลออกนอกประเทศของประเทศไทยนั้นต้องสอดคล้องกับหลักการไม่ส่ง
ผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย ไม่ว่าจะเป็นกรณีการส่งผู้ลี้ภัยการสู้รบจากพม่าหรือประเทศอื่นๆ
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทำารายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยใน
พื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยหรือหนีภัยการสู้รบจะกลับไปอย่างรอบด้าน
๔. ประเทศไทยควรพัฒนาการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยในค่ายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการจัด
การศึกษา การบริการสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ และสิทธิในการทำางาน
๕. ประเทศไทยจะส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง ต่อเมื่อประเทศต้นทางนั้นปลอดภัยสำาหรับ
ผู้ลี้ภัย ทั้งในแง่ภัยจากการสู้รบ และกับระเบิด อีกทั้ง ประเทศต้นทางมีความพร้อมในด้าน
ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การบริการด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การบริการสุขภาพ สวัสดิการ
และมีการจัดเตรียมกลไกเพื่อการรักษาสันติภาพที่เหมาะสม
๖. รัฐบาลไทยควรเข้ามามีบทบาทในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ลี้ภัยก่อนการเดินทางกลับ
โดยจัดโครงการต่างๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพผู้ลี้ภัย การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
๗. หากผู้ลี้ภัยหรือหนีภัยการสู้รบตัดสินใจเดินทางกลับมาตุภูมิเดิมด้วยความสมัครใจ รัฐบาล
ไทยควรเชิญหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเข้าเป็นสักขีพยานในการเดินทางกลับ อีกทั้ง
องค์การที่เป็นสักขีพยานเหล่านั้น อาจพิสูจน์ความสมัครใจในการเดินทางกลับของผู้ลี้ภัย
เหล่านั้น อย่างไรก็จะต้องคำานึงถึงประกันความปลอดภัยและการเดินทางกลับอย่างมี
ศักดิ์ศรีในดินแดนนั้น
๘. ในทางกลับกันหากไม่สามารถดำาเนินการส่งกลับมาตุภูมิเดิมด้วยความสมัครใจได้ รัฐบาล
ไทยควรพิจารณาให้สิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อรอการส่งกลับพม่า
เมื่อสถานการณ์ภายในพม่ามีความปลอดภัย ซึ่งสามารถกระทำาได้ภายใต้พระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๗ กล่าวคือ ให้อำานาจรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของ
คณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องที่จะให้คนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในประเทศไทยอย่างถูก
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒