Page 93 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 93

ท่าทีของสหรัฐอเมริกาต่อสถานการณ์ทางการเมืองของพม่าในปัจจุบัน

                            ภายใต้การเปลี่ยนแปลงท่าทีของรัฐบาลของนายพลเต็ง เส่ง ที่ต้องการพัฒนาประเทศไปสู่
                     ประชาธิปไตย  ทำาให้ประชาคมโลกมีแนวโน้มในการยอมรับพม่ามากขึ้น  ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

                     ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ตัดสินใจส่งนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                     สหรัฐอเมริกาเดินทางไปยังพม่า ด้วยเหตุผลว่าพม่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น กำาลังพยายามปฏิรูปประชาธิปไตย

                     อย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง และผ่อนปรนการควบคุมสื่อ  และในเดือน
                     เดียวกันนั้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ก็ได้มีการประกาศให้พม่าเป็นประธานอาเซียน ในปี ๒๕๕๗

                     และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปีนั้น
                            นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา จึงเดินทางเข้าไปเยือนพม่า เมื่อวันที่

                     ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งนับเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาคนแรกที่เดินทางเยือนพม่าในรอบกว่า
                     ๕๐ ปี  โดยได้มีโอกาสพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ที่กรุงเนปิดอว์ และได้หารือเป็นการส่วนตัวกับ

                     นางอองซาน ซูจี ที่กรุงย่างกุ้ง ด้วย
                            นางฮิลลารี  คลินตัน เผยหลังเข้าพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และรัฐมนตรีหลายคนที่กรุงเนปิด

                     อว์ของพม่าว่า  ได้สนทนาอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์  เธอแจ้งว่า รัฐบาลสหรัฐพร้อมสนับสนุนให้
                     พม่าดำาเนินการปฏิรูปต่อไป  แต่ก็ขอให้พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองและยุติความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อย

                     ความสัมพันธ์พม่ากับสหรัฐอเมริกาจะไม่มีทางดีขึ้นได้หากพม่ายังติดต่ออย่างผิดกฎหมายกับเกาหลีเหนือ
                     ที่มักทำาให้เอเชียหวาดกลัวจากการดำาเนินโครงการนิวเคลียร์

                            นางฮิลลารี  คลินตัน กล่าวด้วยว่า รัฐบาลจะพิจารณาเรื่องส่งเอกอัครราชทูตกลับไปประจำาที่
                     พม่าหลังจากลดระดับผู้แทนเหลือเพียงอุปทูต เนื่องจากพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยอย่าง

                     โหดร้าย เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๑ และยกเลิกผลการเลือกตั้ง เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๓ ที่หลายฝ่ายชี้ว่าพรรคของนาง
                     อองซาน ซูจี แกนนำาฝ่ายค้านเป็นฝ่ายชนะ  การส่งเอกอัครราชทูตไปประจำาพม่าจะเป็นช่องทางสำาคัญใน

                     การแสดงความกังวล การเฝ้าติดตามและสนับสนุนความคืบหน้าในพม่า  อีกทั้งยังเป็นการสร้างความไว้
                     เนื้อเชื่อใจกัน  นอกจากนี้ สหรัฐยังจะสนับสนุนการส่งคณะเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกและกองทุนการเงิน

                     ระหว่างประเทศ (IMF) ไปประเมินความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจให้พม่า  การดำาเนินโครงการความร่วมมือ
                     ปราบปรามยาเสพติดและดูแลสุขอนามัยของสหประชาชาติ

                            ผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕  พรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี
                     ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยได้ที่นั่งจากการเลือกตั้งซ่อมในครั้งนี้ ๔๓ ที่นั่ง จาก ๔๕ ที่นั่ง  ทำาให้

                     นางอองซาน ซูจี และผู้ได้รับการเลือกตั้งของพรรค NLD ได้มีโอการสเข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก
                     ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำาให้นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
                                       ่
                     ประกาศยกเลิกการควำาบาตรทางเศรษฐกิจ และอนุญาตให้นักลงทุนชาวอเมริกันไปลงทุนในพม่าได้
                     รวมทั้งจะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาไปประจำาในพม่าเป็นครั้งแรกในรอบกว่า ๒๐ ปี

                     จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทหารพม่าสามารถเดินทางไปสหรัฐอเมริกาได้  จะสนับสนุนให้
                     USAID และองค์กรพัฒนาเอกชนอเมริกัน (NGOs) เข้าไปให้ความช่วยเหลือและพัฒนาพม่าได้  หลังจาก



                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98