Page 92 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 92
โดยรัฐบาลทหาร การปราบปรามกองกำาลังชนกลุ่มน้อยซึ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่และต้องการประกาศอิสรภาพ
ให้มีดินแดนของตนอยู่ในแผนที่ ยังมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ในอนาคต
นอกจากปัญหาการบูรณาการชาติแล้ว พม่ายังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศซึ่งโดยข้อเท็จจริง
อีกประการหนึ่ง คือ พม่ามีอาณาเขตติดต่อกับจีนถึง ๒,๐๐๐ กว่ากิโลเมตร ทำาให้พม่าต้องให้ความสำาคัญ
ในการดำาเนินการทูตระดับทวิภาคีกับจีนผ่านทางมณฑลยูนาน โดยจีนได้เข้ามาช่วยพม่าสร้างถนนและ
สะพานหลายแห่งตามแนวชายแดนพม่าเพื่ออำานวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า เช่น การปรับปรุงถนน
พม่าเชื่อมระหว่างมัณฑะเลย์ไปยังเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน เช่น ลาเฉียว (Lashio) และ มูเซ (Muse), สะพาน
้
ข้ามแม่นำาฉ่วยลี่ (Shweli) ๒ แห่งเชื่อมเมืองชายแดนพม่าและจีน คือ เมืองมูเซของพม่ากับเมืองหว่านติ้ง
(Wanting) และ หยุยลี่ (Ruili) ของจีนในปี ๑๙๙๒ สะพานเชื่อมหว่านติ้งกับจูกุ๊ก (Kyukok) ของพม่า
ในปี ๑๙๙๓
นอกจากนี้ จีนยังมีโครงการสร้างเขื่อนในพม่าอีกหลายแห่ง ซึ่งเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความ
้
ขัดแย้งรุนแรง ผู้ประสานงานองค์กรเครือข่ายแม่นำาพม่า (Burma Rivers Network) ให้ข้อมูลว่า
การสู้รบที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ใกล้กับจุดสร้างเขื่อนเดพายินและเขื่อนฉ่วยหลี่ ที่อยู่ทางตอนเหนือ
ของพม่าชี้ให้เห็นว่า การเสริมกำาลังของกองทัพพม่าเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับโครงการก่อสร้างเขื่อน
ของรัฐบาลจีนนั้น จะยิ่งทำาให้สถานการณ์ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น การปะทะกันระหว่างกอง
กำาลังทหารพม่าและกองกำาลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Organization - KIO) บริเวณ
จุดสร้างเขื่อนเดพายิน ๑ และเดพายิน ๒ ที่ดำาเนินการโดยบริษัท Datang ของรัฐบาลจีน เป็นการละเมิด
สนธิสัญญาหยุดยิง ที่ทำาไว้เมื่อ ๑๗ ปีก่อนลงอย่างสิ้นเชิง การสู้รบครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำานวนมาก
ขณะที่ประชาชนว่า ๒,๐๐๐ คนต้องอพยพหนีตายไปยังชายแดนจีน กองทัพพม่าได้ส่งทหารหลาย
ร้อยนายเข้าไปประจำาการเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่โครงการสร้างเขื่อนเดพายิน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ
ฐานทัพของ KIO การสู้รบได้ขยายวงกว้าง มีการปะทะกันหลายครั้งใกล้กับเขื่อน ฉ่วยหลี่ ๑ ทาง ตอนเหนือ
ของรัฐฉานด้วยเช่นกัน ในรัฐคะฉิ่นเพียงแห่งเดียวมีแผนการ ก่อสร้างเขื่อนขนาดยักษ์ถึง ๙ แห่งที่ดำาเนินการ
โดยบริษัทของรัฐบาลจีน ได้แก่ เขื่อนมิตซง บนต้นน้ำาอิระวดี การสู้รบใกล้กับโครงการก่อสร้าง เขื่อนเดพายิน
เกิดขึ้นหลังจาก KIO ได้ส่งสาส์นเตือนไปยังรัฐบาลจีนถึงสงครามกลางเมืองที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการก่อสร้าง
เขื่อนมิตซง ซึ่งการเรียกร้องให้ระงับโครงการดังกล่าวจากองค์กรต่างๆ หลายภาคส่วนกลับถูกเพิกเฉย ทั้งนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดยักษ์ได้ส่งผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล
ขณะที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านและใช้ในกองทัพ นอกจากนี้ โครงการ
ก่อสร้างเขื่อนซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย ยังเป็นช่องทางการขยายกำาลังไปยังพื้นที่ดังกล่าว
ได้อีกด้วย (www.burmariversnetwork.org)
้
ผู้ประสานงานองค์กรเครือข่ายแม่นำาพม่า (Burma Rivers Network) กล่าวว่า โครงการสร้าง
เขื่อนขนาดยักษ์เหล่านี้มีแต่จะเพิ่มความขัดแย้งให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ประชาชนกลับไม่ได้รับ
ประโยชน์แต่อย่างใด
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒