Page 91 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 91
ยอมรับ และนำามาเป็นโอกาสเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงได้ ประเด็นต่างๆ ที่นายพลเต็ง เส่ง
พยายามจะเร่งอยู่ เราก็ควรที่จะเข้าไปด้วยเพื่อที่จะทำาให้เกิด win : win หรือทางออกที่ได้ทั้ง ๒ ส่วน ไม่ว่า
จะเป็นเรื่องความสนใจของภาคประชาสังคม การใช้โอกาสในเรื่องของมนุษยธรรมระหว่างประเทศ โครงการ
พัฒนาต่างๆ และการลงทุนของต่างประเทศที่จะเข้าไปในพม่ามากขึ้น”
“อยากจะเรียกร้ององค์กรระหว่างประเทศ หรือว่าใครก็ตามที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูปพม่า
ให้คงยึดหลักไม่ทำาอะไรที่ทำาให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน และอยากให้เน้นเรื่องการสร้างความเข้มแข็ง
กับภาคประชาสังคม และชุมชน รวมทั้งในพม่าและที่ยังทำางานอยู่นอกประเทศ ก็จะเป็นส่วนช่วยอย่างมาก
ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมการปฏิรูป สำาหรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จะ
ทำาอย่างไรให้เกิดการเจรจาที่เท่าเทียมและมีความหมายทางการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะเรื่องนี้เป็น
พื้นฐานของความขัดแย้ง ถ้าไม่มีการพูดคุยในเรื่องทางการเมือง ก็จะไม่ก่อให้เกิดเสรีภาพที่ยั่งยืนได้
เพราะถ้าการพูดคุยในระดับของกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐบาลทหารพม่าเป็นเพียงแค่โครงการพัฒนา การแก้ไข
ปัญหารากลึกของความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น”
นางทาร์ ซอ ตวน กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ภาพการเจรจา และยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มันไม่ได้
นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ผู้คนก็ต้องตกอยู่ในภาวะที่หลบหนี และอาจเป็นภาระ
ของประเทศไทยในการรองรับให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้ และขอขอบคุณประเทศไทย หน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องที่เปิดโอกาสให้มาอยู่อาศัย และพยายามทำางานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในพม่า
อย่างจริงจังในเรื่องการนำาสันติสุขมาสู่พม่า และสิ่งที่สามารถทำาได้ก็ต้องเกิดขึ้นจากความใจดี การเปิด
โอกาส และความช่วยเหลือก็ยังต้องการอยู่ หวังว่าจะมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน และยินดีที่ได้มีการ
พูดคุยกันเรื่องคุ้มครองผู้ลี้ภัยสงคราม ขอเรียนว่า ยังไม่น่าจะมีเรื่องนโยบายการส่งกลับที่เกิดขึ้นในทันที
ทันใด และอยากเห็นภาพความช่วยเหลือจากประเทศยังคงอยู่
สถานการณ์การสู้รบและความขัดแย้งที่ยังดำารงอยู่ในพม่า
จากการจัดสนทนากลุ่มผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ที่อำาเภอแม่สอด ให้ข้อมูล
ว่า ภายในพม่ายังคงมีกองกำาลังอยู่ถึง ๑๒ กองกำาลัง ได้แก่ Mynmar National Democracy Alliance
(MNDA), Mynmar National Solidarity Party (MNSP), National Democracy Alliance Army
(NDAA), Shan State Army (SSA), New Democratic Army (Kachin:NDA), Kachine Defence
Army (KDA), Pa-O National Organization (PNO), Kayan New Land Party (KNLP), Kayinni’s
National People’s Liberation Front (KNPLF), Shan State Nationalities People’s Liberation
Organization (SNPLO), Kayinni National Progressive Party (KNPP) และ New Mon State Party
(NMSP)
กองกำาลังเหล่านี้ ยังคงจับจ้องดูท่าทีของรัฐบาลทหารพม่า ปัญหาของพม่าในปัจจุบันจึงเป็นปัญหา
การบูรณาการชาติเป็นปัญหาหลัก ซึ่งในระยะยาว สถานการณ์แบบเดิม คือ การปกครองแบบรวมศูนย์
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒