Page 89 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 89
ยุติธรรม คนรวยที่มีอำานาจและมีความใกล้ชิดผู้นำาจะมีสิทธิมากกว่าคนอื่นๆ ทำาให้สังคมยังไม่มีความ
ยุติธรรม คอรัปชั่นมีสูงมาก หูตาประชาชนก็ถูกปิดกั้นเพราะสื่อถูกควบคุม อีกทั้ง เมื่อรัฐบาลวิตกกับความ
มั่นคงภายในก็ไม่มีเวลามาบริหารประเทศให้ประชาชนอิ่มท้อง มีกิน แต่ตอนนี้ประชาชนเริ่มเข้าใจมากขึ้น
จึงไม่ค่อยพอใจและเริ่มเรียกร้องมากขึ้น ทำาให้รัฐบาลยิ่งกลัวประชาชนลุกฮือประท้วงเหมือนปี ๑๙๘๘ อีก
โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ ๒๐๐๘ ซึ่งมีหลายมาตราที่น่ากลัวมาก เช่น ทหารที่ทำาผิดไม่ต้องขึ้นศาล หรือ
ผบ. สูงสุดมีสิทธิยึดอำานาจได้ถ้าเชื่อได้ว่าไม่สามารถดูแลความเรียบร้อยได้ มีหลายมาตรามากที่มีปัญหา
แต่บางข้อก็ดี ดังนั้นเบื้องต้น เราต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
อีกทั้งบนแนวทางนี้ เราเชื่อว่าการเจรจาคือแนวทางที่ถูกต้อง แต่การเจรจานั้นต้องเท่าเทียมยุติธรรม
ต่อกัน เพราะเรามีชนกลุ่มน้อยอยู่เป็นจำานวนมาก คนเหล่านี้ต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน”
นางทาร์ ซอ ตวน (Tar Shaw Thuan) จากองค์การสันนิบาตสตรีพม่า แสดงทัศนะต่อ
สถานการณ์ทางการเมืองในพม่า สรุปได้ ว่า
หลังจากนางอองซาน ซูจี ได้รับการปล่อยตัว ก็ได้มีการพูดคุยกันกับรัฐบาลทหาร หลังจากนั้น
ก็เป็นการจัดตั้งรัฐบาลที่มีนายพลเต็ง เส่ง เป็นประธานาธิบดี และรัฐบาลก็ได้มีการพยายามเจรจาให้มี
การหยุดยิงกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ติดอาวุธ และพยายามที่จะให้การรวมกลุ่มกองกำาลังรักษาชายแดน
ความเคลื่อนไหวอีกส่วนหนึ่ง ก็คือ ความพยายามในการเปิดโอกาสให้ทางนักวิชาการต่างๆ ในประเทศร่วม
ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ และเห็นได้ชัดเจนว่า ในการนำาเสนอข่าวของสื่อมวลชนในพม่ามีเสรีภาพมากขึ้น
เช่น ภาพถ่ายการประชุม การพูดคุย หรือการเดินทางของนางอองซาน ซูจี ก็ถูกเผยแพร่ในสื่อของพม่าด้วย
อีกมุมหนึ่งคือ การแสวงหาความพยายามร่วมมือจากองค์กร หรือประชาสังคมระหว่างประเทศ
และการพูดคุยเปิดเผยว่า ให้กลุ่มคนที่อพยพอยู่นอกประเทศกลับประเทศด้วย จึงมีความเห็นเช่นเดียวกับ
ดร.จตุรงค์ ว่า จะต้องเฝ้าดูอย่างระมัดระวัง และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ว่าจะนำาไปสู่หนทางที่เป็นไป
ในทางบวก หรือเป็นไปในลักษณะที่ต้องการจะแสดงให้องค์กรระหว่างประเทศ หรือส่วนต่างๆ ที่สนใจพม่า
พอใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ช่วงหลังเลือกตั้งใหม่ๆ อาจจะเป็นลักษณะของการพยายาม
เบี่ยงเบนความสนใจการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม หรือการทุจริตเลือกตั้ง รวมทั้งการเรียกร้องให้ไม่สร้างเขื่อน
ก็เกิดการตอบสนองจากรัฐบาล จนทำาให้รู้สึกว่าเป็นเหมือนการป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์การประท้วง
ของภาคประชาชน
ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะของการสื่อสารกับสาธารณะที่ชื่นชมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ในพม่า เช่น ในระดับอาเซียน การปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังมีอีก ๖๐๐ กว่าคนที่ยัง
ถูกจับกุม การเจรจาหยุดยิงของกลุ่มต่างๆ ก็ยังมีปัญหาอยู่ การหยุดยิงจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น
กลุ่มคะฉิ่นก็ยังคงมีการสู้รบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ การเจรจาหยุดยิงก็ไม่ค่อยชัดเจนว่าบทบาทของใครจะเป็น
บทบาทหลักในการเจรจา จึงไม่เกิดความเข้าใจ ลักษณะการจัดทีมเจรจาน่าจะเป็นปัญหาว่ามีหลายกลุ่ม
เพราะไม่ได้เจรจากับกลุ่มเดียวที่มีความขัดแย้ง ต้องเจรจากับหลายกลุ่ม เจรจากับตัวบุคคลด้วย จึงเกิด
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒