Page 85 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 85

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เกิดการสู้รบระหว่างกองกำาลังอิสระคะฉิ่น (KIA) และกองกำาลัง
                     พม่าในบริเวณภาคเหนือของพม่าใกล้กับชายแดนประเทศจีน ซึ่งเป็นการยุติสัญญาหยุดยิงที่เคยทำาขึ้น

                     ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และมีรายงานการล่วงละเมิดทางเพศต่อประชาชน โดยมีผู้หญิงและเด็กมากกว่า ๓๕ คน

                     ถูกข่มขืนในช่วงเวลาเพียงสองเดือนแรกของการสู้รบ และการสู้รบทำาให้ประชาชนกว่า ๓๐,๐๐๐ คน
                     กลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ
                            กองทัพพม่าในรัฐคะฉิ่นได้บังคับนักโทษให้ทำางานขนของในบริเวณเขตที่มีการสู้รบ นักโทษจำานวน

                     หลายร้อยคนได้ถูกนำาตัวมาจากเรือนจำาและค่ายทำางานของนักโทษและถูกส่งไปยังหน่วยซึ่งอยู่แนวหน้า

                     ถูกบังคับให้เครื่องมือทางทหารและสัมภาระต่างๆ  และหลายครั้งคนกลุ่มนี้ถูกใช้เป็นโล่มนุษย์ เพื่อเป็น
                     เป้ากันการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามและเคลียร์พื้นที่จากระเบิดสังหารบุคคล
                            จะเห็นได้ว่า  กองทัพพม่ายังคงมีการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

                     โดยการใช้ระเบิดสังหารบุคคล  บังคับใช้แรงงาน  การทรมาน  ทุบตี  และการปล้นสะดมทรัพย์สิน

                     การล่วงละเมิดทางเพศยังคงเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง โดยเหยื่อส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
                     กองทัพพม่ายังคงเกณฑ์เด็กเข้าร่วมในกองทัพ  แม้ว่ารัฐบาลทหารพม่าจะได้ร่วมมือกับองค์การแรงงาน
                     ระหว่างประเทศในการปลดประจำาการทหารที่เป็นเด็กก็ตาม

                            จากการสำารวจของ Human Rights Watch  ในปี ๒๕๕๔ จึงพบว่า สถานการณ์ด้านการคุ้มครอง

                     สิทธิมนุษยชนของพม่ายังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก  ประชาชนยังคงถูกจำากัดเสรีภาพในการแสดง
                     ความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และการรวมกลุ่ม  แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนการจำากัดสื่อมากขึ้น
                            สำาหรับสถานการณ์ด้านผู้ลี้ภัยนั้น  ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔  เอริกา  เฟลเลอร์ เจ้าหน้าที่ด้าน

                     การคุ้มครองระดับสูงสุดในหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติได้เดินทางเยือนพม่าครั้งสำาคัญ  โดย
                     สำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้มีโครงการในรัฐคะฉิ่นทางตะวันตก และภาคตะวันออก

                     เฉียงใต้ของประเทศ  ประเด็นสำาคัญ คือ ผู้พลัดถิ่นบริเวณชายแดนไทย - พม่า  โดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่
                     ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ประเมินว่า  ภาคเหนือของรัฐคะฉิ่นซึ่งเป็นที่พักพิงของชาวมุสลิมที่ไม่มีสัญชาติ

                     จำานวน ๗๕๐,๐๐๐ คน
                            อย่างไรก็ตาม  โดยภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า  สถานการณ์บริเวณชายแดนไทย - พม่าในปัจจุบัน

                     (เมษายน ๒๕๕๕) เปลี่ยนแปลงไปจาก พ.ศ. ๒๕๕๓ มาก  กล่าวคือ การสู้รบภายในพม่าตามบริเวณชายแดน
                     สงบลง  รัฐบาลทหารพม่าทำาข้อตกลงหยุดยิงกับกองกำาลังชนกลุ่มน้อย และประกาศว่า กองกำาลังติดอาวุธ

                     ชนกลุ่มน้อยซึ่งเคยต่อต้านพม่าได้หันมาร่วมพัฒนาชาติโดยการวางอาวุธแล้ว  การปล่อยนักโทษการเมือง
                     จำานวนหนึ่งออกมาสู่อิสรภาพ รวมทั้งการทำาสัญญายุติการสู้รบกับกองกำาลังของชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม

                            นอกจากนี้ รัฐบาลจัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม โดยยอมให้นางอองซาน ซูจี  จัดตั้งพรรคการเมือง
                     ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้  ซึ่งผลการเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  ในด้านเศรษฐกิจ เมืองเมียวดี

                     ถูกกำาหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ เมืองทะวายกำาลังมีการพัฒนา
                     เศรษฐกิจอย่างคึกคัก  โดยบริษัท อิตัลไทย จำากัดเข้าไปลงทุนโครงการแรก ๒.๔ แสนล้านบาท

                            สถานการณ์ดังกล่าว ในสายตาขององค์การของชาวพม่าที่ลี้ภัยสงครามออกมาตั้งถิ่นฐานอยู่



                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90