Page 84 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 84

ที่มาของประเทศต่างๆ รวม ๑๖ ประเทศที่สนับสนุนการตั้ง United Nations Commission of Inquiry
                  ในประเด็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงของทุกฝ่าย  ซึ่งรวมถึงการ
                  ขัดกันทางทหารภายในพม่าด้วย  แต่ก็ไม่มีประเทศใดจะเป็นผู้นำาในการก่อตั้งคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็น
                  จริงขึ้นมา
                         สถานการณ์ทางการเมืองของพม่ายังคงดำาเนินไปตามวิถีทางที่รัฐบาลทหารพม่าต้องการ  โดยใน





                  วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ได้ประกาศวันเลือกตั้งทั่วไป





                  ของพม่า ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ ๒๐ ปี  ในวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้สอดคล้องกับ



                  รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งได้รับการประกาศใช้ตามผลการลงประชามติ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑


                  ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (USDP) ได้รับชัยชนะ  โดยพรรคฝ่ายค้าน

                  อย่างน้อย ๒ พรรคประกาศยอมรับผลการเลือกตั้ง


                         ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  รัฐสภาพม่าได้เปิดประชุมครั้งแรกที่กรุงเนปิดอว์  เพื่อเริ่ม


                  กระบวนการเลือกผู้นำาประเทศชุดใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า  ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐสภาของพม่า





                  ได้ลงมติแต่งตั้ง พลเอก เต็ง เส่ง (Thein Sein) เป็นประธานาธิบดี  ด้วยคะแนนเสียง ๔๐๘ คะแนนจาก









                  ทั้งหมด ๖๕๙ คะแนน  สำาหรับรองประธานาธิบดีอีก ๒ คน ได้แก่ พลโท ทิน อ่อง มินต์ อู (Tin Aung Myint








                  Oo)  เลขาธิการคนที่ ๑ ของ State Peace and Development Council อดีตรัฐมนตรีกลาโหม อดีต



                  นายพลระดับสูง และพันธมิตรของพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นำาสูงสุดพม่า และ ดร.ไซ มอค ขาม  (Sai Mauk

                  Kham) นายแพทย์และหัวหน้าพรรคการเมืองชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน  หนึ่งในพรรคสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล
                  หลังจากการเลือกตั้ง  รัฐบาลทหารพม่าพลเรือนของพม่าได้พยายามส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงสู่สังคม
                  โลกอย่างต่อเนื่อง



                         ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นมา  นางอองซาน ซูจี ได้รับอนุญาตให้เดินทางให้เดินทางพบปะ
                  กับผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD)  แม้ว่าในขณะนั้นพรรคดังกล่าวยังไม่




                  ถูกต้องตามกฎหมายเลือกตั้ง  นางอองซาน ซูจี ได้เดินทางไปยังกรุงเนปิดอว์ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ เพื่อ

                  พบกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง


                         ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔  รัฐบาลทหารพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น
                  ประกอบด้วย อดีตเอกอัครราชทูต นักวิชาการ และข้าราชการ


                         ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓  พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้ประกาศ


                  ว่าจะจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง และตั้งใจว่าจะลงแข่งขันในการเลือกตั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕



                  ขณะเดียวกัน การสู้รบระหว่างทหารพม่าและกองกำาลังชนกลุ่มน้อยขยายวงกว้างขึ้นในปี ๒๕๕๔ เนื่องจาก
                  การเจรจาหยุดยิงยังไม่เป็นที่ยุติ  ในรัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันออกของพม่ากองกำาลังกะเหรี่ยงพุทธได้มี
                  การสู้รบกับทหารพม่า หลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓  การปะทะกันบริเวณ
                  ชายแดน  ส่งผลทำาให้มีผู้คนจากฝั่งพม่ากว่า ๒๕,๐๐๐ คน อพยพลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย  ทหาร
                  กองกำาลังกะเหรี่ยงพุทธส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงดินแดนบริเวณดังกล่าวให้เป็นดินแดนภายใต้
                  การควบคุมของกองทัพพม่า และยุติการสู้รบที่ยืดเยื้อมากว่า ๑๖ ปี
        
        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89