Page 76 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 76

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ควรอ้างเหตุนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                  ของผู้ลี้ภัย  รัฐบาลไทยควรปฏิบัติตามเงื่อนไขในการส่งตัวกลับตามกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องหลักการ

                  ไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย และพันธกรณีอื่นของประเทศไทยตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน
                         ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัย เป็นการประกันว่ารัฐตระหนักและเห็นความสำาคัญต่อสิทธิและ

                  เสรีภาพของบุคคลโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา ความคิดทางการเมือง และหากพิจารณา
                  ผลลัพธ์ของการให้การคุ้มครองดูแลสิทธิและเสรีภาพของผู้ลี้ภัยการสู้รบแล้วเห็นว่าส่งผลดีต่อความมั่นคง

                  ของประเทศไทยอย่างยิ่ง  เนื่องจากบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่กลับไปสู่ประเทศพม่าซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน
                  ของไทย การที่ประเทศไทยปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยการสู้รบเหล่านี้โดยให้การคุ้มครองสิทธิของเขาย่อมเป็นการสร้าง

                  มิตรซึ่งที่อยู่ตรงพรมแดนไทย-พม่า ซึ่งดีกว่าการมีศัตรูอยู่ชิดติดพรมแดน
                         อีกทั้ง  แนวคิดเรื่องความมั่นคงของประเทศนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว  ความมั่นคงของประเทศนั้น

                  ไม่ได้หมายถึงความมั่นคงทางเขตแดนทางภูมิศาสตร์เท่านั้น  แต่ยังหมายถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ
                  สังคม ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐให้ความสำาคัญกับหลักความมั่นคงมนุษย์ (Human Security) มุ่งส่งเสริมการ

                  พัฒนาอย่างเป็นประชาธิปไตย คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเสรีภาพขั้นพื้นฐาน สร้างความเป็นธรรมทางสังคม
                  และเคารพหลักนิติรัฐ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดสันติภาพถาวรขึ้นในประชาคมระหว่างประเทศ ยิ่งกว่าการ
                  โต้ตอบด้วยอาวุธ

                         นอกจากนี้ ปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย คือ ทัศนคติของคนไทย ซึ่งจากการสำารวจ
                  ขององค์การเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา (ประเทศไทย)  และศูนย์วิจัยเอแบค มหาวิทยาลัย

                  อัสสัมชัญ ได้สำารวจการรับรู้และทัศนคติของประชาชนไทยต่อผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ระหว่าง
                  วันที่ ๒๘ เมษายน - ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ พื้นที่ที่ทำาการสำารวจรวมทั้งสิ้น ๑๑ จังหวัด โดยเป็นพื้นที่ซึ่งมี

                  สถานที่พักพิงชั่วคราว (ค่ายผู้ลี้ภัย) ตั้งอยู่ ๔ จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี กาญจนบุรี และพื้นที่
                  ซึ่งไม่มีสถานที่พักพิงชั่วคราว ตั้งอยู่อีก ๗ จังหวัด คือ กรุงเทพฯ ชลบุรี สระแก้ว เชียงใหม่ ขอนแก่น

                  สมุทรสาคร และสงขลา พบว่า แม้ประเทศไทยจะได้ให้ที่ลี้ภัยกับผู้อพยพลี้ภัยการสู้รบมาเป็นเวลานาน
                  แต่คนไทยกลับยังคงทัศนคติในแง่ลบต่อผู้ลี้ภัย โดยมองว่าบุคคลเหล่านี้เป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศ

                  และเป็นภาระทางเศรษฐกิจ ซึ่งทัศนคติดังกล่าวอาจเกิดหลายปัจจัย เช่น การนำาเสนอภาพผู้ลี้ภัยโดยสื่อ
                  ซึ่งจากการศึกษาของเพื่อนไร้พรมแดน สรุปผลการศึกษาการนำาเสนอภาพผู้ลี้ภัยโดยสื่อมวลชนไทยพบว่า

                  สื่อไทยมีความเข้าใจในประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยน้อยมาก และบางส่วนยังมีทัศนคติในแง่ลบต่อผู้ลี้ภัยอย่างชัดเจน


                         สถานการณ์ในประเทศพม่า
                         เงื่อนไขที่สำาคัญที่สุดในการส่งผู้หนีภายการสู้รบกลับประเทศพม่า ก็คือ เสถียรภาพความมั่นคง

                  ทางการเมืองของพม่า และสถานการณ์ปลอดจากการสู้รบในบริเวณชายแดนไทย - พม่า ซึ่งนับเป็นวิธีการ

                  ที่แก้ไขปัญหาระยะยาวที่ยั่งยืนและถาวร  โดยในปัจจุบัน สถานการณ์ประเทศพม่าซึ่งเป็นประเทศต้นทาง
                  ได้มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น  ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ได้ประกาศการปฏิรูปประเทศโดยเน้นทางด้าน
                  การเมืองและเศรษฐกิจ  รัฐบาลพม่าได้ลดการควบคุมและตรวจสอบสื่อ ยุติการปิดกั้นสื่อของฝ่ายค้านและ

                  สื่อต่างชาติมากขึ้น  อีกทั้ง ยังมีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองจำานวนมาก ซึ่งรวมถึงแกนนำาหลายคนของ


        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81