Page 74 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 74

โดยมีเป้าหมายในการควบคุมผู้ลี้ภัยการสู้รบให้อยู่ในพื้นที่ที่กำาหนดเท่านั้น  และวางกำาลังเจ้าหน้าที่เพื่อ
                  ควบคุมพื้นที่ไว้เป็นการเฉพาะ และรัฐบาลไทยมีนโยบายเด็ดขาดในการดำาเนินคดีต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ

                  โดยกระทรวงมหาดไทยกำาหนดว่า  ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ภายใต้พระราช

                  บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒  และไม่ใช่บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในประเทศเป็นการ
                  ชั่วคราวตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒  เพียงแต่มีมติสภาความมั่นคง
                  แห่งชาติและแนวทางปฏิบัติที่ผ่อนปรนให้ผู้ลี้ภัยการสู้รบพักอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอการ

                  ส่งกลับเมื่อเหตุการณ์การสู้รบยุติลง

                         ดังนั้น หากผู้ลี้ภัยจากการสู้รบลักลอบออกนอกพื้นที่ควบคุมจะถูกจับดำาเนินคดีเป็นบุคคลต่างด้าว
                  เข้าเมืองผิดกฎหมายทันที  และดำาเนินการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรโดยใช้อำานาจตามพระราชบัญญัติ
                  คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒  ทำาให้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒  มีบทบาทสำาคัญในการควบคุม

                  ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบและเป็นเครื่องมือที่ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบหวั่นเกรง เพราะผู้ลี้ภัยจากการสู้รบนั้นกลัว

                  มาตรการถูกลงโทษด้วยการส่งกลับประเทศ

                         รัฐบาลไทยยินยอมให้ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
                         ๑)  ยอมให้อยู่ในราชอาณาเขตประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว  เมื่อผู้ลี้ภัยจากการสู้รบข้าม

                             ชายแดนเข้ามาเขตประเทศไทยจะอำานวยความสะดวกและช่วยเหลือให้ที่พักพิงชั่วคราว
                             ในพื้นที่ปลอดภัยบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม

                         ๒)  ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบต้องอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการจัดให้เท่านั้น และสถานที่นั้นเป็นพื้นที่พักพิง
                             ชั่วคราว ไม่ใช่ค่ายผู้ลี้ภัย

                         ๓)  เมื่อการสู้รบในประเทศพม่าสิ้นสุดลง หรือเมื่อสภาวะความไม่สงบ  ความไม่ปลอดภัย
                             ผ่านพ้นไป  ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบต้องเดินทางกลับประเทศของตนทันที โดยฝ่ายไทยจะเป็น

                             ผู้อำานวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือให้เดินทางกลับประเทศด้วยความปลอดภัย
                             และสมศักดิ์ศรี

                         อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะกำาหนดว่า “เมื่อการสู้รบในประเทศพม่าสิ้นสุดลงหรือเมื่อสภาวะ

                  ความไม่สงบ ความไม่ปลอดภัยผ่านพ้นไป ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบต้องเดินทางกลับประเทศของตนทันทีโดย
                  ฝ่ายไทยจะเป็นผู้อำานวยความสะดวกและให้ความช่วงเหลือให้เดินทางกลับประเทศด้วยความปลอดภัยและ

                  สมศักดิ์ศรี”  แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอันตราย หรือความเสี่ยงในพื้นที่ที่ผู้ลี้ภัย
                  จะต้องถูกส่งตัวกลับแต่อย่างใด

                         ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย และเพื่อเป็นกรอบทาง
                  กฎหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำาหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย จึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไข

                  พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ในมาตรา ๕๔ ซึ่งเป็นบทบัญญัติหลักที่ให้อำานาจเจ้าหน้าที่ส่ง
                  คนต่างด้าวออกนอกประเทศ  โดยต้องบัญญัติเพิ่มเติมให้มีการพิจารณาความเสี่ยงของที่บุคคลนั้นๆ

                  จะได้รับอันตรายต่อชีวิตและเสรีภาพ และปรับปรุงนโยบายของรัฐในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย โดยบัญญัติ




        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79