Page 81 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 81
ขั้นตอนที่ ๑ การเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยจัดตั้งศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และติดตั้งที่สำานักงานกลางซึ่งทำาหน้าที่เก็บรวบรวม
ข้อมูล ใช้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งนี้ สำาหรับข้อมูลซึ่งมีความอ่อนไหวสามารถจัดเก็บแยก
ไว้ต่างหาก เป้าหมายของขั้นตอนนี้คือการทำาให้เข้าถึงฐานข้อมูลได้โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ หมู่บ้าน ศูนย์พักพิง กับระเบิด จะถูกรวบรวมและนำาเสนอ
ในรูปแบบของแผนที่ ซึ่งเมื่อผู้ใช้กดเลือกที่รูปภาพของสัญลักษณ์ใด ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์นั้น
ก็จะปรากฏขึ้น โดยทีมผู้พัฒนาได้ ทำาให้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตอย่างมี
ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังมีการประสานความร่วมมือกับองค์กรซึ่งมีเครือข่ายกระจายอยู่ในหลายพื้นที่
เพื่อทำาหน้าที่เพิ่มเติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ทำาให้องค์กรอื่นๆ สามารถระบุ
ตำาแหน่งที่อยู่ของผู้ลี้ภัยได้ถูกต้องแม่นยำาขึ้น และสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยได้ดียิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ ๒ การปรับฐานข้อมูลให้ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยขั้นตอนนี้ ผู้พัฒนาโปรแกรมจะต้องทำางานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูล
เพื่อสร้างโปรแกรมให้เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด มีการทดลองใช้ฐานข้อมูล ประเมินการใช้งาน
และนำาข้อมูลกับมาพัฒนาโปรแกรมต่อไป
จัดการอบรมวิธีการใช้ฐานข้อมูลแก่บุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดการหาอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยแนวคิดหลัก คือ การใช้งานคอมพิวเตอร์พกพา และเทคโนโลยี
จานดาวเทียมในการเข้าถึงข้อมูล และใส่ข้อมูลในระบบที่อยู่ห่างไกลได้ ซึ่งจะทำาให้หน่วยงานที่ให้ความ
ช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยสามารถสามารถเก็บรวมรวมข้อมูล และเพิ่มเติมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้าน พื้นที่ที่จะ
มีการจัดส่งผู้ลี้ภัย และยังจัดให้มีเครื่องมือที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลที่สำาคัญแก่ผู้ลี้ภัยและครอบครัว ซึ่งกำาลัง
เดินทางหรืออยู่ระหว่างการตัดสินใจเดินทางกลับบ้านของตน
ขั้นตอนที่ ๓ การปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูล
ขั้นตอนนี้จะต้องใช้ข้อมูลที่ได้รับจากขั้นตอนที่ ๒ มาปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลให้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพิ่มเติมข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ
นอกจากนี้ การจัดทำาฐานข้อมูลกลางร่วมกันแล้ว หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแล
ผู้ลี้ภัยยังสามารถร่วมกันสร้างศักยภาพ บุคลากร มีความเชี่ยวชาญผ่านการจัดอบรมโดยใช้ความรู้ความ
เชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน เพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยที่ดีขึ้นอีกด้วย
ระบบการประสานงานทั้งการตั้งศูนย์ประสานงานกลางระหว่างหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่
เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย และการจัดทำาฐานข้อมูล จะนำาไปสู่การวิเคราะห์ ความเข้าใจสภาพปัญหา และการ
จัดการผู้ลี้ภัย ทำาให้ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ
ผู้ลี้ภัยได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒