Page 71 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 71
จากการศึกษาหลักการสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพ
ผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย
(non-refoulement) ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่ ๒ แล้วนั้น เมื่อนำามาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พบว่า แม้ทุกหน่วยงานจะมีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยการสู้รบโดยยึด
หลักมนุษยธรรมก็ตาม แต่ในการปฏิบัติจริง มีการกดดันให้ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบกลับไปยังภูมิลำาเนาเดิม
ในขณะที่การสู้รบยังไม่ได้สิ้นสุดลงอย่างแท้จริง ดังนั้น ในบทนี้จึงจะกล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติตาม
หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย ว่าเป็นอย่างไร
แนวทางการปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (Non-Refoulement)
ดังที่กล่าวถึงสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนว่า ผู้อพยพลี้ภัยจากการสู้รบ
จำาเป็นต้องเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากสถานการณ์การในประเทศต้นทางบีบบังคับ เช่น กรณีการ
สู้รบระหว่างกองกำาลังทหารพม่าและกองกำาลังกะเหรี่ยง ในปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ทำาให้มีผู้อพยพลี้ภัยเข้ามาใน
บริเวณจังหวัด ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ การส่งคนเหล่านี้กลับประเทศ
พม่าอาจทำาให้พวกเขามีอันตรายต่อชีวิตและเสรีภาพ ด้วยเหตุนี้ ก่อนการส่งกลับจึงควรกำาหนดให้มีการ
พิจารณาตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่ที่จะเดินทางกลับ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัย
กลับไปสู่อันตราย (non-refoulement) แต่จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยก็มิได้บัญญัติรับรองหลักการดังกล่าว
ไว้ในกฎหมายภายในของประเทศ
ปัจจุบันพบว่า หลายประเทศได้ระบุหลักการไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัยไปสู่อันตรายในกฎหมายภายใน
ตัวอย่างเช่นญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากได้รับข้อเสนอแนะจากรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒