Page 79 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 79
(๒) ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนในการให้
ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
(๓) ข้อมูลจากทั้งประเทศต้นทางและประเทศที่ให้ที่พักพิงในเรื่อง ตำาแหน่งที่ตั้ง จุดหมาย
ปลายทางที่ผู้ลี้ภัยต้องการเดินทาง ความช่วยเหลือที่จัดไว้สำาหรับผู้ลี้ภัย
เมื่อข้อมูลนี้ ควรนำามาจัดทำาฐานข้อมูลซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานร่วมกันได้
๒. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยขณะอยู่ในประเทศไทย
เมื่อผู้ลี้ภัยเดินทางเข้ามาในประเทศไทย หน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถแจ้งให้ผู้ลี้ภัย
ทราบถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตน วิธีขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเนื่องจากหน่วยงาน
ภาคประชาสังคมมักทำางานใกล้ชิดกับผู้ลี้ภัย จึงมีความเข้าใจในปัญหาอย่างดี จึงสามารถเสนอแนวทางการ
แก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นำาไปสู่การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืน
๓. ร่วมในการวางแผนบริหารจัดการผู้ลี้ภัยในระยะยาวโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน
หน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถร่วมกับภาครัฐในการวางแผนการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย
โดยเสนอวิธีการที่ทำาให้ผู้ลี้ภัยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อแบ่งเบาภาระในการดูแลผู้ลี้ภัยของรัฐ
ช่วยประสานงานให้ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้พบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้มีหน้าที่ในการจัดทำา
นโยบาย การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการตรวจสอบการทำางานของภาครัฐ ยังทำาให้
กระบวนการทำางานของรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
หน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถเป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
ผู้ลี้ภัยให้กับคนในประเทศได้ทราบและเข้าใจถึงสาเหตุความจำาเป็นที่ทำาให้ผู้ลี้ภัยต้องอพยพเข้ามาใน
ประเทศ แนวทางที่การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย หน่วยงานภาคประชาสังคม โดยใช้ช่องทางซึ่งหน่วยงาน
ภาคประชาสังคมแต่ละแห่งมีศักยภาพ เช่น การจัดทำาสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ความรู้ทางเว็บไซต์ การจัด
การอบรม
๔. สนับสนุนให้ภาครัฐปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
การใช้กลไกขององค์การสหประชาชาติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคมมี
บทบาทในการร่วมมือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การจัดทำารายงานประเทศของภาคประชาสังคมในการ
เสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ และมีศักยภาพในการนำาเสนองานวิจัย ผลงาน
ทางวิชาการที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการแก้ไขปัญหาให้กับ
ผู้ลี้ภัยได้
นอกจากนี้ หน่วยงานภาคประชาสังคมยังมีบทบาทในการพัฒนาการกรอบทางกฎหมายที่ใช้
คุ้มครองผู้ลี้ภัย เช่น อนุสัญญาห้ามทุ่มระเบิดสังหารบุคคล (Convention on the ban Landmines) ซึ่ง
เป็นผลมาจากการริเริ่มของภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบกับปัญหาโดยตรงจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
และได้ร่วมตัวกันตั้งการรณรงค์ในระดับสากลเพื่อต่อต้านการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และกดดันให้รัฐบาล
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒