Page 75 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 75

เพิ่มเติมกำาหนดให้ประเทศไทยปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย มีการประเมินอันตราย
                     และความเสี่ยงในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง

                            ประเทศไทยจะต้องกำาหนดให้การประเมินสถานการณ์อย่างรอบด้าน และเปิดโอกาสให้บุคคลที่

                     จะถูกส่งตัวกลับมีโอกาสที่ได้แสดงความเห็น  เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินแล้วพบว่า ผู้ลี้ภัยไม่มีความเสี่ยง
                     ที่จะได้รับอันตรายในชีวิตและเสรีภาพหากมีการส่งกลับ  องค์กรซึ่งมีอำานาจจะต้องพิจารณาเวลาและ
                     สถานที่ที่เหมาะสมสำาหรับการส่งกลับ  ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งผู้ลี้ภัยล่วงหน้าเป็นระยะเวลาพอสมควร

                     เพื่อให้เตรียมพร้อมสำาหรับการเดินทางกลับ  โดยเจ้าหน้าที่จะต้องให้ข้อมูลสถานการณ์ในประเทศต้นทาง

                     และแจ้งให้ผู้ลี้ภัยทราบถึงช่องทางการคัดค้านการส่งกลับ
                            นอกจากจะกำาหนดว่าประเทศไทยจะส่งผู้ลี้ภัยกลับต่อเมื่อสถานการณ์ในประเทศต้นทางมีความ
                     ปลอดภัยแล้ว ในระหว่างที่ผู้ลี้ภัยยังพักพิงอยู่ในประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และ

                     หน่วยงานภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องควรให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ลี้ภัย โดยจัดหาที่พัก เครื่องนุ่งห่ม

                     อาหาร และยารักษาโรค และปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยโดยสอดคล้องกับหลักมนุษยธรรม เพื่อให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มี
                     ทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทย
                            จากการลงพื้นที่สำารวจใน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี พบว่า บริบทและลักษณะของการอพยพลี้ภัย

                     การสู้รบจากประเทศพม่านั้นเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ เป็นการอพยพเข้ามาในประเทศไทยเพียงชั่วคราว

                     และผู้ลี้ภัยบางส่วนเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับประเทศไทย เช่น ได้ส่งบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียน
                     ของไทย ได้เข้ามาทำางานโรงงานในประเทศไทย  การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กร
                     ระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาคประชาสังคม จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือในระยะเวลาสั้น และความ

                     ช่วยเหลือดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อสถานการณ์การสู้รบในประเทศพม่ายุติลง  และผู้ลี้ภัยสามารถเดินทาง
                     กลับประเทศพม่าได้โดยปลอดภัย

                            นอกจาก หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศควรร่วมมือ
                     กันในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของผู้ลี้ภัยแล้ว  หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง

                     ซึ่งมีบทบาทสำาคัญในการดูแลผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดน จึงควรปรับวิธีการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยให้สอดคล้องกับ
                     หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงมนุษย์ และบริบทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย




                     การปรับบทบาทของหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ


                            หลักการของสิทธิมนุษยชน และหลักความมั่นคงมนุษย์
                            ประเทศซึ่งเป็นผู้ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมักรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในการตกเป็นผู้แบกรับภาระ

                     พรพิมล  ตรีโชติ ใน“ไร้แผ่นดิน เส้นทางจากพม่าสู่ไทย” ระบุว่า  ในกรณีประเทศไทยที่ได้ให้ที่พักพิงแก่
                     ผู้ลี้ภัยมาเป็นเวลายาวนานมากกว่า ๒๐ ปี ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ลี้ภัยจากการสู้รบได้แสดง

                     ความเห็นใจต่อประเทศไทยที่จำาเป็นต้องแบกรับภาระดังกล่าว






                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80