Page 73 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 73

ระหว่างประเทศและหน่วยงานภาคประชาสังคม  โดยหลักเกณฑ์ของการคุ้มครองชั่วคราวนั้นต้องสอดคล้อง
                     กับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมือง

                     และสิทธิทางการเมือง  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  แต่ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองชั่วคราวไม่ควรยืดขยาย

                     ออกไปโดยไม่จำาเป็น  และต้องถูกแทนที่ด้วยมาตรการที่ยั่งยืน และความคุ้มครองชั่วคราวนี้ควรสิ้นสุดลง
                     เมื่อผู้อพยพสามารถกลับคืนสู่ประเทศต้นกำาเนิดได้อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี


                            การแจ้งผู้ลี้ภัยทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาตามสมควรก่อนการส่งกลับ

                            เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผู้ลี้ภัยทราบล่วงหน้าก่อนการส่งกลับเป็นระยะเวลาตามสมควร โดยกำาหนดเวลา

                     เพียงพอให้เตรียมตัวเพื่อเดินทางกลับ และให้ได้พิจารณาว่าจะคัดค้านการส่งกลับหรือไม่  หากประสงค์
                     จะส่งกลับ  ผู้ลี้ภัยจะต้องแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อองค์กรที่เป็นกลางและเป็นอิสระจากองค์กรซึ่งเป็น

                     ผู้ทำาคำาสั่งดังกล่าว  สิทธิในกระบวนการคัดค้านคำาสั่งดังกล่าวเป็นหลักการทั่วไปของกฎหมายสิทธิมนุษยชน
                     ที่บุคคลมีสิทธิในการได้รับการเยียวยาและการเรียกร้องได้รับกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรม


                            การกำาหนดช่องทางให้ผู้ลี้ภัยสามารถคัดค้านการส่งกลับต่อองค์กรที่เป็นกลาง และเป็น

                            อิสระจากหน่วยงานที่ออกคำาสั่งให้ส่งกลับ

                            เมื่อผู้ลี้ภัยได้ร้องคัดค้านการส่งกลับ  ประเทศไทยควรกำาหนดให้มีองค์กรที่ทำาหน้าที่พิจารณา
                     คำาร้องดังกล่าว  โดยเป็นองค์กรที่เป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้หน่วยงานที่ทำาคำาสั่งส่งกลับ  ทั้งนี้ ในระหว่าง

                     กระบวนพิจารณานั้น  ผู้ลี้ภัยควรจะได้รับคำาปรึกษาจากทนายความเพื่อการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของ
                     ผู้ลี้ภัย และจะต้องเลื่อนการส่งตัวผู้ลี้ภัยออกนอกประเทศระหว่างการพิจารณาคำาคัดค้านดังกล่าว

                            การพิจารณาความปลอดภัยของประเทศต้นทาง  นอกจากจะเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของ
                     ผู้ลี้ภัย  ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่บุคคลทุกคนในอาณาเขต

                     ของรัฐอย่างแท้จริง ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
                     ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” และ มาตรา ๒๖ “การใช้อำานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำานึง

                     ถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ”
                            นอกจากการบัญญัติรับรองหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตรายแล้ว ประเทศไทยควรปรับปรุง

                     นโยบายและมาตรการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย  เพื่อให้
                     สิทธิและเสรีภาพของผู้ลี้ภัยได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง




                     นโยบายและมาตรการที่ควรปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัย
                     กลับไปสู่อันตราย (Non-Refoulement)

                            จากเอกสารรายงานการพิจารณาศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ เรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ  อนุกรรมการ

                     สิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  สิทธิเสรีภาพและการ
                     คุ้มครองผู้บริโภคของวุฒิสภา ระบุว่า ประเทศไทยได้วางกฎระเบียบในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยอย่างเคร่งครัด



                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78