Page 78 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 78
การผลักดันผู้ลี้ภัยให้ออกนอกประเทศนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพราะแม้จะผลักดันกลับ
ออกไป สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยก็จะบีบบังคับให้ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
ประเทศไทยจึงควรกำาหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ชัดเจนในการให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้ลี้ภัย
โดยสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างหลักสิทธิมนุษยชนกับแนวคิดความมั่นคง ควบคู่ไปกับการส่งเสริม
เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศพม่า ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจาก
การสู้รบที่ยั่งยืน
ดังนั้น โดยคำานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน หลักความมั่นคงมนุษย์ ความเปลี่ยนแปลงในพม่า และการ
เกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยมีความจำาเป็นจะต้องมีบทบัญญัติที่กำาหนดให้มีการ
พิจารณาสถานการณ์ของประเทศต้นทาง และพยายามแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยอาศัย
ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า เพื่อพัฒนาสถานการณ์ในประเทศพม่าให้ดีขึ้น ยุติการ
สู้รบ และตระหนักถึงความสำาคัญของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ
ภาคประชาสังคมมีส่วนช่วยในการเดินทางกลับประเทศของผู้ลี้ภัย มีความปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี
การเดินทางกลับอย่างมีศักดิ์ศรี หมายถึง ผู้ลี้ภัยจะต้องไม่ถูกบังคับให้เดินทางกลับในลักษณะที่ผลักไส
ใช้ความรุนแรง เจ้าหน้าที่ของประเทศต้นทางควรให้การยอมรับผู้ลี้ภัยที่เดินทางกลับ และเมื่อเดินทางกลับ
ประเทศต้นทางแล้ว ผู้ลี้ภัยสามารถใช้สิทธิพื้นฐานของตนได้ ภาคประชาสังคมสามารถเข้ามามีบทบาท
ให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยได้ ดังต่อไปนี้
๑. ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย และสถานการณ์ในประเทศต้นทาง
เพื่อการเดินทางกลับอย่างปลอดภัย
ภาคประชาสังคมสามารถเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต้นทาง สถานการณ์การสู้รบ
ในพื้นที่ และสถิติของผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เพื่อประเมินความปลอดภัยในเดินทางกลับ
และปรับปรุงนโยบายของรัฐให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์การอพยพในพื้นที่ โดยจัดให้มีการ
่
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสมำาเสมอ เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงใน
ประเทศต้นทาง
จากเอกสารรายงานการพิจารณาศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ เรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบของ
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิ
เสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคของวุฒิสภาระบุว่า ข้อมูลที่ภาคประชาสังคมเก็บรวบรวม คือ ข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) ข้อมูลประเทศผู้ให้ที่ลี้ภัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของศูนย์พักพิงชั่วคราว สุขภาพ
้
นำาดื่ม สุขอนามัย และการศึกษา
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒