Page 80 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 80

ประเทศต่างๆ ดำาเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนทำาให้มีการร่างอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลขึ้น ๑
                             ภาคประชาสังคมสามารถทำางานร่วมกับรัฐเพื่อสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

                  แต่ทั้งนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมนั้นจะต้องมีความโปร่งใส มีเป็นอิสระในการทำางาน

                  และเคารพกรอบของกฎหมาย และเพื่อให้การทำางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาค
                  ประชาสังคมมีประสิทธิภาพสมควรจัดระบบการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                  ด้วย ซึ่งจะได้กล่าวถึงในข้อต่อไป



                  ระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                         ระบบประสานงานที่สามารถส่งเสริมและประสิทธิภาพการทำางานของหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยนั้น




                  สามารถเกิดขึ้นได้โดย ๒ วิธีหลัก คือ การตั้งหน่วยงานประสานงานกลาง และการจัดทำาฐานข้อมูลร่วมกัน
                         ๑.  ตั้งหน่วยงานประสานงานกลาง
                             การส่งผู้ลี้ภัยเดินทางกลับประเทศต้นทาง  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายทั้งหน่วยงาน



                  ของรัฐ ภาคประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ และผู้ลี้ภัย ซึ่งแต่ละฝ่ายมีการเก็บรวมรวมข้อมูล ศักยภาพ

                  วัตถุประสงค์ในการทำางานที่แตกต่างกัน เพื่อการทำางานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำาเป็นที่จะต้องสร้าง
                  ระบบประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ขึ้น  โดยการตั้งหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการประสานงาน
                  กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั้งหมด  ทำาหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยสถานการณ์
                  ในประเทศต้นทาง  หน่วยงานที่ให้การดูแลช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและประสานงานให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล

                  ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                         ๒.  การจัดทำาฐานข้อมูล

                             ในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากพม่านั้น  ประเทศไทยควรสร้างฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างการ

                  ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าว นอกจากจะมีประโยชน์
                  ในแง่การบริหารจัดการผู้ลี้ภัยเพื่อการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืนในแล้ว  ยังช่วยให้การทำางานขององค์กรที่
                  ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


                             ตัวอย่างการใช้ระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย เช่น


                  โครงการ KRISYS ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศโคโซโว และประเทศแอลเบเนีย
                                                                                                   ๒








                  เป็นโครงการร่วมระหว่าง Chicago Kent School of Law และ Illinois Institution of Technology

                  การสร้างเครือข่ายดังกล่าวสามารถจำาแนกเป็นขั้นตอนหลัก ดังต่อไปนี้
                  ๑
                     Walter Fust, “CIVIL SOCIETY IN  INTERNATIONAL COOPERATION” the Opening Session of the World Civil Society Forum,
                     Geneva, July 15, 2002. http://www.worldcivilsociety.org/documents/15.01_fust_walter_ddc.doc
                  ๒
                     KRISYS NET. “Kosovo Refugee Information System and Network” An Interprofessional Project (IPRO) of Chicago-Kent
                     College of Law,Illinois Institute of Technology Prospectus 1998-1999. http://pbosnia.kentlaw.edu/projects/kosovo/
                     oldstuff/prospectuspre 42199.htm
        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85